ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 1569
ชื่อสมาชิก : ศริญณา มาปลูก
เพศ : หญิง
อีเมล์ : sarinna@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 29/7/2557 14:05:54
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 29/7/2557 14:05:54
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  0  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
การประชุมวิชาการ เรื่อง “งานวิจัยกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0”
“งานวิจัยกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0” นักวิจัยจะต้องไม่ยึดติดกับงานวิจัยของสาขาตนเองมากไป ต้องประยุกต์ใช้เข้าร่วมกับสาขาวิชาอื่น ๆ ด้วย เพื่อให้งานวิจัยนั้นมีความหลากหลาย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน และนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เราเน้นการนำวิจัยมาประยุกต์ใช้ให้ได้ในความเป็นจริงพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 เรื่อง “การประชุมวิชาการ ประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยแม่โจ้” ได้กล่าวถึงเรื่อง “งานวิจัยกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล โดยวิทยากรกล่าวถึง นักวิจัยจะต้องไม่ยึดติดกับงานวิจัยของสาขาตนเองมากไป ต้องประยุกต์ใช้เข้าร่วมกับสาขาวิชาอื่น ๆ ด้วย เพื่อให้งานวิจัยนั้นมีความหลากหลาย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน และนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เราเน้นการนำวิจัยมาประยุกต์ใช้ให้ได้ในความเป็นจริงพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย 

และมีผลงานวิจัยที่น่าสนใจ ได้แก่

เรื่อง ตัวแบบทางสถิติสำหรับจำนวนผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงของจังหวัดสงขลาในปี พ.ศ. 2554-2558 โดยธีระพงค์ คงเกื้อ ปิยธิดา บุญสนอง สายใจ เพชรคงทอง มูนี หะสา และอิสมะแอ มามะ ได้นำเสนองานวิจัยตัวแบบการถดถอยปัวซงและตัวแบบการถดถอยทวินามเชิงลบเป็นตัวแบบพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลแจงนับ ดังนั้นจุดมุ่งหมายในการศึกษาคือเพื่อหาตัวแบบที่เหมาะสมสาหรับจำนวนผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงของจังหวัดสงขลาในปี พ.ศ. 2554-2558 ซึ่งจำนวนผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงจำแนกตามตัวแปรอิสระ คือ เพศ กลุ่มอายุ อำเภอ และปีโดยการอธิบายแต่ละตัวแบบ วิเคราะห์และพิจารณากราฟเพื่อใช้ในการเลือกตัวแบบที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่าตัวแบบการถดถอยทวินามเชิงลบให้ค่า AIC และ BIC น้อยกว่าตัวแบบการถดถอยปัวซงจึงเป็นตัวแบบที่เหมาะสม

เรื่อง การประเมินระบบแถวคอยการให้บริการสถานีปั๊มก๊าซ NGV อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยธนะรัตน์ รัตนกูล กันต์ธมน สุขกระจ่าง และพุฒธิธร ตุกเตียน  ได้นำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับศึกษาระดับความพึงพอใจและการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของระบบแถวคอยของสถานีบริการปั๊มก๊าซ NGV โดยการนำแนวคิดของทฤษฎีแถวคอยและการสร้างแบบจำลองสถานการณ์มาใช้ในการวิจัย ซึ่งผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของลูกค้ากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยขั้นตอนในการให้บริการมีความคล่องตัวไม่ซับซ้อนในระดับปานกลาง และการให้บริการด้วยความสะดวกรวดเร็วทันตามกำหนดเวลาอยู่ในระดับน้อย ส่วนผลการวิเคราะห์การกระจายของเวลาจากการมาถึงของลูกค้า เป็นแบบ Beta เวลาเฉลี่ย 1.31 นาทีต่อคัน และการกระจายตัวของเวลาให้บริการที่หัวจ่ายก๊าซ NGV เป็นแบบ Lognormal เวลาเฉลี่ย 7.04 นาทีต่อคัน ส่วนผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของแถวคอยที่ได้จากการคำนวณในแบบจำลอง ทั้งสิ้น 30 วัน โดยมีเวลาทำงาน ตั้งแต่ 6.00-22.00 น. จำนวนแถวคอย 1 แถว จำนวนหัวจ่าย 4 หัวจ่าย M/M/4 : FCFS / ∞ /∞ พบว่า มีจำนวนลูกค้าเฉลี่ยที่ระบบ (Ls) 4.36 คัน จำนวนลูกค้าเฉลี่ยที่อยู่ในแถวคอย (Lq) 4.10 คัน เวลาเฉลี่ยที่ลูกค้าแต่ละรายอยู่ในระบบ (Ws) 112.51 นาที เวลาเฉลี่ยที่ลูกค้าแต่ละรายอยู่ในแถวคอย (Wq) 105.5 นาที จากข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการใช้บริการของสถานีบริการปั๊มก๊าซ NGV ต่อไป

คำสำคัญ : งานวิจัย นโยบายไทยแลนด์ 4.0
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3444  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 7/9/2561 12:04:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 14:07:27
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290