ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 1891
ชื่อสมาชิก : พัชรี อินธนู
เพศ : หญิง
อีเมล์ : patcharee.i@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 8/4/2558 11:39:15
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 8/4/2558 11:39:15
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  0  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
ของเสียเป็นได้มากกว่าการนำไปทิ้ง
พลังทางทางเลือกที่ยั่งยืนสามารถนำมาแทนพลังงานฟอสซิลได้ โดยพลังงานทางเลือกมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับพลังงานฟอสซิล เช่น พลังงานความร้อนที่ให้ เป็นต้น

 
รู้หรือไม่แหล่งพลังงานสำรองในประเทศไทยสามารถใช้ได้แค่อีกประมาณ 35 ปีข้างหน้า แล้วเราควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อไม่มีพลังงานใช้ อย่าลืมกันนะคะว่าประเทศไทยเราเป็นประเทศเกษตรกรรมอีกทั้งยังบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักดังนั้ในทุกๆ วันมักจะเกิดของเสียอินทรีย์ขึ้นโดยที่เราทุกคนไม่รู้ตัว นั่นก็คือ เศษอาหาร รวมทั้งวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็นฟางข้าว เปลือกข้าวหรือแกลบ เศษกิ่งหรือเศษใบไม้จากการตัดแต่งกิ่งลำไย เปลือทุเรียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองสามารถนำมาสร้างให้เป็นสื่งที่ให้พลังงานเพื่อใช้ทดแทนพลังงานที่กำลังจะหมดไป แล้ววิธีเปลี่ยนของเสียอินทรีย์เหล่านี้ให้เป็นเชื้อเพลิงที่ให้พลังงานทำอย่างไร เรามีคำตอบให้ค่ะ 1. เศษอาหารสามารถนำมาผลิตแก๊สเชื้อเพลิงที่ใช้แทนแก๊สหุงต้มได้ หรือเรียกว่า แก๊สชีวภาพ โดยกระบวนการทำนั้นไม่ยากเลยคะ เพียงแค่สร้าบ่อซีเมนต์ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร พร้อมมีฝาปิดแล้วต่อท่อเพื่อให้แก๊สที่ผลิตได้สามารถลอยออกมา มีช่งสำหรับเทเศษอาหารทางด้านบนของบ่อ ภายในบ่อควรใส่พืชหรือผลไม้ที่เป็นแหล่งของจุลินทรีย์ เช่น หยวกกล้วย สัปปะรด หรือจะใช้ตะกอนจากแหล่งน้ำนิ่ง เป็นต้น จากนั้นหลังมื้ออาหารทุกมื้อจะมีเศษอาหารให้นำเศษอาหารทิ้งลงบ่อ ในช่วงเริ่มต้นรอประมาณ 20-30 วันจึงจะเกิดแก๊สเชื้อเพลิงที่สามารถนำไปใช้ประกอบอาหารได้ 2. เศษวัสดุเหลืองทิ้งทางการเกษตรต่างๆ สามารถนำมาเผาเพื่อผลิตเป็นถ่านอัดแท่งไว้ใช้ในการประกอบอาหารได้ แต่ในอุตสาหกรรมสามารถนำไปใช้แทนถ่านหินในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า หรือใช้ในกระบวนการเผาเซรามิกและแก้ว โดยกระบวนการทำนั้นก็ไม่ยากเช่นเดียวกัน ก่อนอื่นต้องมีเตาสำหรับเผาเศาวัสดุเหลือทิ้งเหล่านี้ซึ่งสามารคสร้างได้ง่านโดยช้ดินเหนียว การสร้างเตาเผาถ่านนั้นควรให้อยู่ในรูปทรงไข่มีปล่องล่างและปล่องบน ปล่องล่างจะมีขนาดใหญ่กว่าปล่องบน และมีช่องสำหรับใส่เชื้อเพลิงในการเผา ในกระบสนการเผาเพื่อผลิตถ่านนั้นให้สังเกตุควันที่ปล่องบน คือ ในระหว่างการเผาเพื่อผลิตถ่านปล่องควันด้สนบจะมีควันให้สังเกตุจนควันหมดแล้วทำการปิดปล่องทันทีเพื่อให้เกิดกระบวนการเผาแบบอับอากาศซึ่งจะได้ถ่าน หากไม่ปิดปล่องบนเศษวัสดุเหลือทิ้งจะเกิดการเผาไหม้จนกลายเป็นขี้เถ้าแทน การเปลี่ยนวัสดุเหลือทิ้งต่างๆ เป็นเชื้อเพลิงที่ให้พลังงานนอกจากจะช่วยลดปริมาณของเสียในชุมชนแล้วยังช่วยสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน จนกระทั่งอาจจะเกิดการจัดตั้งกลุ่มรัฐวิสาหกิจชุนชนขึ้นอีกด้วย เห็นไหมละคะว่าเพียงเท่านี้เราก็สามารถมีพลังงานใช้เรื่อยๆ แล้วค่ะ ลองทำกันดูนะคะ ครั้งต่อไปจะนำเทคโนโลยีพลังงานทางด้านเตาชีวมวลมาให้ทุกคนได้รู้จักนะค่ะ

คำสำคัญ : เศษอาหาร พลังงาน วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร แก๊สชีวภาพ
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3035  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 28/8/2561 9:13:22  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 14:56:34
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290