ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 286
ชื่อสมาชิก : เยาวลักษณ์ ภูดีทิพย์
เพศ : หญิง
อีเมล์ : yaowalak@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 10/3/2554 10:52:02
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 10/3/2554 10:52:02
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  0  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากโครงการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาวิสัยทัศน์บุคลากร
การเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ได้มีการเข้าศึกษาดูงานหลักๆ 3 แห่ง ประกอบด้วย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ/คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยข้าพเจ้าขอสรุปเนื้อหาและความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจากการเข้าร่วมศึกษาดูงาน

การเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ได้มีการเข้าศึกษาดูงานหลักๆ 3 แห่ง ประกอบด้วย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ/คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยข้าพเจ้าขอสรุปเนื้อหาและความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจากการเข้าร่วมศึกษาดูงานแยกตามสถานที่ศึกษาดูงานรายละเอียดดังนี้

  1. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ วันที่ 22 เมษายน 2560

ได้มีการเข้าศึกษาและเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้ต่างๆ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการทำเกษตร เกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน และเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงเรื่องของอาหารการกินที่ปลอดภัยสำหรับสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งจากการเข้าศึกษาดูงานทำให้สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ ภายในคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งยังสามารถนำประโยชน์และความรู้ทางด้านเทคโนโลยีที่ได้จากการศึกษาดูงานนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

  1. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 24 เมษายน 2560

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2529 เป็นคณะลำดับที่ 9 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นคณะแรกที่ตั้งขึ้น ณ ศูนย์รังสิต และนับเป็นคณะวิทยาศาสตร์ที่ก่อตั้งเป็นแห่งที่ 18 ของประเทศ ในขณะนั้น ด้วยนโยบายของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เริ่มเปิดการเรียนการสอนใน 5 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาสถิติ สาขาวิชาศาสตร์คอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ต่อมาคณะฯได้ขยายการเรียนการสอนในสาขาวิชาเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ควบคู่กับมหาวิทยาลัยก่อตั้งคณะวิชาใหม่ ๆ ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งคณะฯรับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ทั้งหมดให้กับทุกคณะวิชาณศูนย์รังสิต 

ซึ่งจากการรับฟังการบรรยายและการร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ทำให้ทราบถึงการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับจะต้องมีการปรับโครงสร้างขององค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งในการปรับโครงสร้างขององค์กรจะต้องมีการสลับสับเปลี่ยนหน้าที่ของบุคลากรเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเพื่อให้เกิดการดำเนินงานตามพันธกิจของหน่วยงาน หลังจากมีการแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องของการบริหารในแบบมหาวิทยาลัยกำกับ ทำให้ได้เห็นภาพรวมของการทำงานในส่วนงานบริหารชัดขึ้น  

  1. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 เมษายน 2560

คณะวิทยาศาสตร์ได้รับการก่อตั้งในปีพุทธศักราช 2459 โดยเป็นส่วนหนึ่งของ คณะอักษรศาสตร์แลวิทยาศาสตร์ และเปิดสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานเบื้องต้น สำหรับนิสิตในคณะแพทยศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันนี้ คณะวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยภาควิชาต่าง ๆ 14 ภาควิชา ที่ทำการสอนทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาที่เกิดขึ้นในภายหลังได้แก่ ภาควิชาชีวเคมี พฤกษศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป ธรณีวิทยา วิทยาศาสตร์ทางทะเล จุลชีววิทยา และภาควิชาทางด้านเทคโนโลยีอีก 4 ภาควิชา ได้แก่ เคมีเทคนิค เทคโนโลยีทางอาหาร วัสดุศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ และยังมีหลักสูตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตในสาขาวิชาใหม่ ๆ เช่น เทคโนโลยีชีววิทยา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และ ปิโตรเคมีและโพลิเมอร์ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างภาควิชา นอกจากนี้ คณาจารย์ของภาควิชายังให้การสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานให้กับนิสิตจากคณะอื่น ๆ เช่น คณะวิวกรรมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ และ คณะแพทยศาสตร์

วิธีการนำไปใช้ประโยชน์

ซึ่งจากการได้ศึกษาดูงาน ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ ได้นำมาใช้ประโยชน์ในด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงาน ให้ดียิ่งขึ้น

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2243  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 11/9/2560 14:40:59  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 12:38:45
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290