ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 1422
ชื่อสมาชิก : ยุวลี อันพาพรม
เพศ : หญิง
อีเมล์ : yuwalee@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 17/10/2556 11:31:44
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 17/10/2556 11:31:44
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  6  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพอาจารย์และบุคลากร
การเข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพอาจารย์และบุคลากร เรื่อง “ธรรมาภิบาลในการทำงาน” โดย อาจารย์บุญญฤทธิ์ สมบัติหลาย ทำให้ทราบถึงหลักคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพครู ซึ่งสามารถนำกฎเกณฑ์ที่เป็นแนวทางปกิบัติตนในการประกอบอาชีพโดยยึดหลักความดีงาม เหมาะสม และเป็นที่ยอมรับในสังคม อันจะนำมาซึ่งความน่าอยู่ขององค์กร รวมถึงเป็นแนวทางในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพในอนาคต

ธรรมาภิบาล เดิมมีการใช้เป็น ประชารัฐ ธรรมรัฐ ระบบบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่ดี การปกครองโดยธรรม เป็นต้น

หลักการสำคัญของธรรมาภิบาล ได้แก่

1)      หลักความโปร่งใส (transparency)ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกัน โดยมีการให้และการรับข้อมูลที่สะดวกเป็นจริง ทันการณ์ ตรงไปตรงมา

2)      หลักความรับผิดชอบ (accountability) ได้แก่ ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้เป็นการสร้างกลไกให้มีผู้รับผิดชอบ ตระหนักในหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม

3)      หลักการมีส่วนร่วม (participation) ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมคิด ร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ในด้านต่าง ๆ

4)      หลักนิติธรรม (rule of law) ได้แก่ การตรากฏหมาย กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม ไม่เลือกปฏิบัติ และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับเหล่านั้น

5)      หลักความคุ้มค่า (efficiency and effectiveness) ได้แก่ การบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม

6)      หลักคุณธรรม (virtues)ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม สำนึกในหน้าที่ของตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย และเคารพในสิทธิของผู้อื่น

จริยธรรมสังคม ได้แก่

1)      ความอ่อนโยน อ่อนน้อม

2)      ความเข้มแข็ง หนักแน่น

3)      การควบคุมอารมณ์

4)      ความไม่มุ่งทำร้ายต่อกัน

5)      การให้อภัย

นอกจากนี้วิทยากรได้บอกเล่าประสบการณ์ในการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการตีความ/ตัดสินข้อพิพาทเกี่ยวกับประเด็นข้อร้องเรียนการประพฤติผิดจรรยาบรรณและวินัย ในกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงในสถาบันการศึกษาและหน่วยงานทางการแพทย์ ดังเช่นการนำผลงานทางวิชาการของผู้อื่นมาเป็นของตน การใช้คำพูดไม่เหมาะสมต่อเพื่อนร่วมงาน การไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยการเรียนต่อ เป็นต้น

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 7292  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 30/8/2559 9:30:24  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 3:49:08
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290