ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 2074
ชื่อสมาชิก : พลวศิษฐ หล้ากาศ
เพศ : ชาย
อีเมล์ : polwasit_lk@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 2/6/2559 9:29:58
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 2/6/2559 9:29:58
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  0  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
The Four C’s of Becoming a True HR Influencer
งานทรัพยากรบุคคล ในปัจจุบันนั้น มีความเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น เพราะจากที่ทำงานประจำวัน ( Routine ) เช่น รับคนเข้า ออก ตรวจ ขาด ลา มาสาย แต่ในปัจจุบันนั้น การที่จะทำให้ “คน” ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กรนั้น ได้เห็นถึงคุณค่าของงานทรัพยากรบุคคล และทำให้นำทรัพยากรคนในองค์กรบรรลุวิสัยทัศน์นั่นได้ จึงจำเป็นที่ทำให้ งานทรัพยากรบุคคล ปรับบทบาทไปสู่ คู่คิดกลยุทธ์ ( Strategic Partner ) และเป็นผู้อำนวยความสะดวกในเรื่องคน ( Facilitator ) ซึ่งทำให้สิ่งที่ งานทรัพยากรต้องมีในปัจจุบัน ซึ่งช่วยให้คนในองค์กรเห็นถึงบทบาทและความสำคัญของงานทรัพยากรมากขึ้น จากบทความด้านทรัพยากรบุคคลของบริษัท Adecco บริษัทที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลที่มีชื่อเสียงของโลก ได้วางบทบาทของงานทรัพยากรบุคลไว้ 4 บทบาท บทความนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ “Key Person of Influence” ของ Daniel Priestley จัดทำ โดย Entrevo Training ในสิงคโปร์ “Key Person of Influence” เน้นเรื่ององค์ประกอบสำคัญ 5 อย่างที่ทำให้คนที่มีชื่อเสียงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้มากกว่าคนอื่นภายในสายธุรกิจของพวกเขา

 

ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานด้านทรัพยากรบุคคล ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัย ได้ดังนี้

1.COMMUNICATION – การสื่อสาร

สิ่งหนึ่งที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลทำผิดพลาดเป็นครั้งคราวคือ เรื่องการสื่อสารภายในองค์กร คุณ Callum Laing ซีอีโอของ Entrevo Training Pte Ltd กล่าวว่า “เวลาที่ผมคุยกับผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บางครั้งผมก็ได้ยินว่าเมื่อพวกเขาแจ้งเรื่องโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารให้พนักงานทราบผ่านทางอีเมล แต่พนักงานกลับไม่สนใจที่จะเปิดอีเมล์อ่าน สิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นคือ หากคุณไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมในโครงการ สิ่งหนึ่งที่จะช่วยคุณได้คือ หาวิธีสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ”

การนำเสนอหรือการสื่อสาร มักขึ้นอยูกับว่าผู้ฟังเป็นใคร และอะไรคือสิ่งสำคัญสำหรับพวกเขาทั้งด้านส่วนตัวและด้านหน้าที่การงาน บางครั้งฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องเสนอความคิดในภาษาที่ฟังแล้วเข้าใจได้ง่าย สื่อสารให้รู้เพียงแต่ว่าเป็นเรื่องอะไร แต่ไม่บอกว่ามันมีประโยชน์อย่างไร ถ้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลอยากให้พนักงานยอมรับโครงการที่นำเสนอ พวกเขาก็ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่าประโยชน์ที่จับต้องได้คืออะไร

“คนที่สามารถนำเสนอหรือสื่อสารได้ดี จะไม่ใช้รูปแบบการนำเสนอแบบเดียวกันกับ ทุกคน สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการนำเสนอคือ รู้ว่าผู้ฟังของคุณคือใคร พวกเขากำลังมองหาอะไร พวกเขาต้องการอะไร แล้วนำเสนอในสิ่งที่พวกเขาสนใจฟัง” นาย Callum Laing กล่าว

 

“เพียงแค่เข้าใจว่าผู้ฟังคือใคร อะไรสำคัญสำหรับเขา แล้วพูดในสิ่งที่พวกเขาสนใจฟัง คือเป็นการเริ่มต้นที่ดี”

 

2.CREDIBILITY ความน่าเชื่อถือ

ผู้ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากพนักงาน และสิ่งหนึ่งที่จะทำได้ก็คือ ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากภายนอกด้วย เราสามารถทำได้ในหลายวิธีซึ่งรวมถึงการเขียนบทความในวารสารธุรกิจที่เกี่ยวข้อง สิ่งพิมพ์ออนไลน์ หรือบล็อกต่างๆ ขณะที่คนส่วนใหญ่คิดว่าทุกคนรู้ในสิ่งที่พวกเขารู้ แต่ในความเป็นจริงคือประสบการณ์ของแต่ละบุคคลไม่เหมือนใคร และฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่ทำงานในแวดวงมากว่า 10 - 15 ปีจะมีประสบการณ์มากมาย แต่พวกเขามักไม่รู้ตัวเอง           

สิ่งที่เป็นความท้าทายก็คือ การหาให้ได้ว่าอะไรคือประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใครของคุณและใช้ประโยชน์จากมัน ผลการสำรวจปี 2013 ของ Sandler Training พบว่า 62% ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้เวลาเพียงแค่หนึ่งชั่วโมงต่อวันเท่านั้นในการทำตัวให้เป็นที่รู้จัก ทั้งที่รู้ดีว่ามันคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดความก้าวหน้าในธุรกิจ

“วิธีทำง่ายๆ คือนำสิ่งต่างๆ ที่คุณเรียนรู้มาตลอดหลายปี ทุกสิ่งที่คุณรักเกี่ยวกับสายงานอาชีพของคุณ สิ่งที่คุณอยากนำไปบอกคนที่กำลังจะเข้ามาในสายงานอาชีพของคุณเป็นครั้งแรก แล้วก็นำเสนอออกไปเป็นประจำ” นาย Callum Laing กล่าว “มันแสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญของคุณในวงการ และแสดงให้เห็นความเชี่ยวชาญภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้สิ่งที่คุณพูดออกมาน่าเชื่อถือมากขึ้น เพราะคุณมีประสบการณ์เหล่านั้นช่วยสนับสนุน”

 

3.CREATION การรังสรรค์สิ่งใหม่ๆ

ส่วนใหญ่เมื่อฝ่ายทรัพยากรบุคคลเปิดตัวโครงการใหม่ๆ วิธีสื่อสารที่ใช้เป็นประจำคือการส่งอีเมล เพื่อแจ้งให้ทราบว่าเป็นโครงการอะไร แต่ไม่มีการสร้าง แรงจูงใจให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมด้วย อย่างไรก็ดีการนำเอาความคิดนั่นๆมานำเสนอในรูปแบบที่จับต้องได้ เช่น ทำเป็นวิดีโอฝึกสอน การฝึกอบรมออนไลน์ หรือจัดสัมมนา – ที่ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับเอกสารรับรองหรือประกาศนียบัตรการเข้าอบรม – ก็จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้พนักงานอยากเข้ามามีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น

จากกรณีศึกษาปี 2012 ของ Institute of Management Technology ใน Ghaziabad ประเทศอินเดีย แสดงให้เห็นว่า การนำองค์ประกอบของสินค้าและบริการมาเชื่อมโยงกันเพื่อสร้างคุณค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุดช่วยให้การส่งถ่ายความรู้เกิดขึ้นมากกว่าเดิมและส่งเสริมให้เกิดการแบ่งงานกันทำมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดการแข่งขันที่ดียิ่งขึ้น ยังเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดระบบบริหารจัดการที่ดีขึ้นด้วย ผู้ผลิตรู้ดีขึ้นว่าพวกเขากำลังขายอะไร และลูกค้าก็รู้ว่า พวกเขากำลังจะซื้ออะไร

 

4.COLLABORATION การทำงานร่วมกัน

หน้าที่หลักของฝ่ายทรัพยากรบุคคลมักเป็นเรื่องของการสื่อสารและการทำงานร่วมกันเสมอ หากมีความคิดริเริ่มใหม่ๆที่ต้องการนำเสนอจะต้องได้รับการสนับสนุนจากบุคคลที่เหมาะสมด้วย การร่วมมือการทำงานทั้งจากภายในและจากภายนอกเป็นองค์ประกอบสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ แต่ก่อนที่ทุกคนจะให้ความร่วมมือกับคุณ พวกเขาต้องรู้ก่อนว่าคุณเป็นใคร โชคดีที่โลกปัจจุบันมีเครือข่ายการเชื่อมต่อทางสังคมแบบไร้รอยต่อ การนำเสนอข้อมูลทั้งเรื่องส่วนตัวและในสายงานอาชีพจึงเป็นเรื่องง่าย ไม่ว่าจะเป็นการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social media) สื่อแบบดั้งเดิม (Traditional media) และช่องทางการสื่อสารภายในองค์กร ฝ่ายทรัพยากรบุคคลสามารถทำวิดีโอบน YouTube ได้อย่างง่ายดาย หรือแบ่งปันข้อมูลบน  SlideShare เชื่อมต่อกันใน Google+ หรือ LinkedIn สร้างโปรไฟล์และติดตามสิ่งที่คุณสนใจตามความเชี่ยวชาญประภทต่างๆ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างความน่าสนใจให้กับกลุ่มเป้าหมายให้รู้สึกอยากร่วมมือกับคุณ

“ถ้าคุณอยากให้ความคิดของคุณเผยแพร่ออกไป คุณต้องเปิดเผย ทำให้ตัวเองโดดเด่นเพื่อให้คนอื่นมองเห็นคุณ”

 

“ปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่ช่วยให้โปรไฟล์ของคุณโดดเด่น คุณกำลังพยายามสร้างชื่อเสียงเพื่อให้พนักงานหรือผู้บริหารเห็นด้วยกับสิ่งที่คุณนำเสนอ และบอกออกมาว่าพวกเขาเชื่อคุณหรือคุณค่าของคุณ โดยดูจากสิ่งที่เห็นคุณทำมาในอดีต”

เมื่อคุณได้สร้างชื่อเสียงให้กับตัวคุณเองแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะทำให้คนสำคัญในองค์กรที่คุณต้องทำงานด้วยเห็นด้วยกับความคิดของคุณ เพื่อทำให้ความคิดหรือแผนงานของคุณประสบความสำเร็จ มีคนเคยกล่าวไว้ว่า ไม่มีความคิดใดที่ไร้สาระ ถ้าคุณมีคนที่ใช่มาทำงานด้วย ไม่ว่าคุณกำลังพยายามจะเปลี่ยนแปลงอะไรภายในองค์กร ถ้าผู้บริหารระดับสูงหรือหัวหน้าแผนกให้การสนับสนุน ข้อเสนอของคุณจะได้รับการอนุมัติเร็วขึ้นเพราะคุณมีคนที่ใช่เห็นด้วยกับคุณ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3377  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 1/7/2559 11:13:25  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 10:47:45
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290