ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 31
ชื่อสมาชิก : ณัฐกฤตา โกมลนาค
เพศ : หญิง
อีเมล์ : komolnark@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 12/1/2554 0:00:00
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 12/1/2554 15:21:43
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  1  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
การกำกับดูแลและการบริหารจัดการไอทีระดับองค์กร ด้วย COBIT
สรุปความจำเป็น และแรงขับเคลื่อนในการกำกับดูแลและบริหารจัดการไอทีระดับองค์กร ด้วย กรอบแนวทางของ COBIT (Control Objectives for Information and Related Technology) เพื่อเป็นแนวทางในการกำกับดูแลและบริหารจัดการไอทีระดับองค์กร

การกำกับดูแลและบริหารจัดการด้าน IT ขององค์กร จึงจำเป็นต้องให้มี

  1. การดูแลรักษาสารสนเทศให้ได้คุณภาพสูง เพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจ
  2. สร้างคุณค่าทางธุรกิจจากการลงทุนโดยมี IT เป็นปัจจัยเอื้อ ได้แก่การใช้งาน IT อย่างมีประสิทธิผลและสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางกลยุทธ์และก่อให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจ
  3. บรรลุการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ ผ่านการใช้งานเทคโนโลยีที่เชื่อถือได้และมีประสิทธิผล
  4. ดูแลความเสี่ยงที่เกี่ยวกับ IT ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
  5. ดูแลต้นทุนการให้บริการทางไอทีและต้นทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  6. ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ ข้อตกลงตามสัญญาและนโยบาย

ปัจจัยขับเคลื่อนในการพัฒนา COBIT5 จาก

  1. สิ่งคาดหวังจากสารสนเทศและเทคโนโลยี และลำดับความสำคัญ ของผู้มีส่วนได้เสียมีมากขึ้น (ประโยชน์ที่ได้รับ ณ ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และด้วยต้นทุนที่เกิดขึ้น)
  2. การพึ่งพากลุ่มธุรกิจและองค์กรด้านไอทีจากภายนอกมากขึ้น ระบุถึงความสำเร็จ ตลอดจนวิธีการและกลไกต่างๆ ที่ใช้เป็นการส่งมอบคุณค่าตามที่คาดหวัง
  3. ปริมาณสารสนเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สารสนเทศจึงจำเป็นต้องได้รับการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. การบูรณาการ IT เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจมากขึ้น ทั้งในส่วนของโครงการ โครงสร้าง 
  5. การบริหารความเสี่ยง นโยบาย ทักษะหรือกระบวนการต่างๆ
  6. การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี
  7. ความรับผิดชอบในการกำกับดูแลและการบริหารจัดการ IT ระดับองค์กรอย่างมีประสิทธิผล ครอบวงจร
  8. การควบคุมกระบวนการแก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จ
  9. การสร้างคุณค่า ความพึงพอใจของผู้รับบริการ และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ นโยบายที่เกี่ยวข้อง
  10. การสร้างแนวปฏิบัติที่ดีและมาตรฐานต่างๆ

แนวทางการดำเนินงาน

  1. พิจารณาผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด ทั้งจากภายใน-ภายนอกองค์กร ใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ ใครเป็นผู้รับความเสี่ยง และต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง
  2. พิจารณาถึงเป้าหมายระดับองค์กร โดยสัมพันธ์กับการได้รับผลประโยชน์ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  3. พิจารณาถึงปัจจัยเอื้อ ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของงาน ซึ่ง Cobit5 ให้แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยเอื้อไว้ 7 ประการคือ
  •  
    • หลักการ นโยบาย และกรอบการดำเนินงาน เป็นสิ่งที่นำไปสู่พฤติกรรมที่คาดหวังให้เป็นแนวทางปฏิบัติ
    • กระบวนการ เป็นกลุ่มของแนวปฏิบัติและกิจกรรมที่ใช้ดำเนินการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับ IT โดยภาพรวม
    • โครงสร้างการจัดองค์กร ระบุถึงหน่วยงานที่เป็นหลักในการตัดสินในในองค์กร
    • วัฒนธรรม จริยธรรม และพฤติกรรม ทั้งในส่วนบุคคลและขององค์กร
    • สารสนเทศ ทั้งที่เกิดจากและที่ใช้โดยองค์กร เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมและเพื่อการกำกับดูแล แต่สำหรับในระดับปฏิบัติการเท่านั้น
    • บริการ โครงสร้างพื้นฐาน และระบบงาน รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และระบบงานที่ใช้สำหรับการประมวลผลและบริการอื่นๆ ด้านเทคโนโลยีแก่องค์กร
    • บุคลากร ทักษะ และศักยภาพ เชื่อมโยงกับตัวบุคคลและสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้กิจกรรมทั้งหมดสำเร็จลุล่วง และช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องพร้อมทั้งดำเนินการแก้ไข

    4. แต่ละปัจจัยเอื้อ จะมีผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งหมายถึงผู้มีบทบาทสำคัญ และมีผลประโยชน์จากปัจจัยเอื้อ ให้ระบุถึงความคาดหวังของแต่ละปัจจัยเอื้อในแต่ละผู้มีส่วนได้เสีย โดยแยกเป็น

  •  
    • ความคาดหวังในด้านคุณภาพในตัวเอง ได้แก่ความถูกต้อง แม่นยำ เชื่อถือได้ 
    • คุณภาพในบริบทความเป็นปัจจุบัน ความสม่ำเสมอ ใช้งานง่าย  
    • การเข้าถึงและการรักษาความมั่นคงปลอดภัย

    5. พิจารณาถึงวัฏจักรแต่ละปัจจัยเอื้อตั้งแต่การวางแผน ออกแบบ การจัดซื้อจัดจ้าง การนำไปใช้ การประเมิน และการปรับให้เป็นปัจจุบัน

    6. พิจารณาถึงการบริหารจัดการประสิทธิภาพของปัจจัยเอื้อ โดยหาคำตอบจาก

  •  
    •  การระบุความต้องการผู้มีส่วนได้เสีย
    • ปัจจัยเอื้อบรรลุเป้าหมายหรือไม่
    • วัฏจักรของปัจจัยเอื้อ ได้รับการจัดการหรือไม่
    • มีการประยุกต์ใช้เป็นแนวปฏิบัติที่ดีหรือไม่

ปัจจัยหลักสู่ความสำเร็จที่จะช่วยให้การนำไปใช้งานประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย 

  1. ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้ให้ทิศทางและสั่งการสำหรับการริเริ่มดำเนินงานพร้อมกับให้คำมั่นและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องอย่างชัดเจน
  2. ทุกภาคส่วนที่สนับสนุนกระบวนการกำกับดูแลและบริหารจัดการ มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ทั้งทางด้านธุรกิจและด้านไอที
  3. ทำให้แน่ใจได้ว่ามีการสื่อสารที่มีประสิทธิผลและสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น
  4. ปรับใช้ COBIT และแนวปฏิบัติที่ดีและมาตรฐานที่สนับสนุนอื่นๆ ให้เหมาะสมกับบริบทเฉพาะขององค์กร
  5. มุ่งเน้นการแก้ปัญหาที่ทำได้เร็ว และให้ความสำคัญในลำดับต้นสำหรับการปรับปรุงที่ให้ประโยชน์สูงสุดซึ่งสามารถนำไปใช้ใช้งานจริงได้ง่าย

http://www.erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=Mjk4NTMx&method=inline

http://www.erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=Mjk4NTMy&method=inline

คำสำคัญ : cobit5
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3125  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 29/8/2561 13:05:34  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/4/2567 13:24:45
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290