ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 2221
ชื่อสมาชิก : ปานวาด ศิลปวัฒนา
เพศ : หญิง
อีเมล์ : panwad_sw@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 1/9/2560 11:19:37
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 1/9/2560 11:19:37
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  0  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
ระบบตรวจสอบภายในตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล
วัตถุประสงค์ของการขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลมีขึ้นเพื่อคุ้มครองทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิต (เกษตรกร) โดยผู้บริโภคต้องการสินค้าที่มีคุณภาพดีและมีการผลิตที่เป็นมิตรต่อส่งแวดล้อม และในส่วนของผู้ผลิตคือเกษตรกรต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เพื่อที่จะสามารถขายสินค้าได้ ซึ่งการรับรองคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตขึ้นตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลมีข้อกำหนดพื้นฐานที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อให้การรับรองมาตรฐานเป็นไปอย่างราบรื่น

ในประการแรกต้องทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลว่ามีขึ้นเพื่อคุ้มครองทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิต (เกษตรกร) โดยผู้บริโภคต้องการสินค้าที่มีคุณภาพดีและมีการผลิตที่เป็นมิตรต่อส่งแวดล้อม และในส่วนของผู้ผลิตคือเกษตรกรต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เพื่อที่จะสามารถขายสินค้าได้ ซึ่งการรับรองคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตขึ้นตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลมีข้อกำหนดพื้นฐานคร่าวๆ ดังต่อไปนี้

 

  1. ห้ามไม่ให้มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ใดๆ   : หลักการของเกษตรอินทรีย์คือการพึ่งตนเองและความอุดมสมบูรณ์นั้นต้องหมุนเวียนมาจากไร่นาของตนเอง เช่นการใช้ปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์และพืช ตลอดจนการปลูกพืชหมุนเวียน
  2. ห้ามไม่ให้มีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชใดๆ เช่นสารกำจัดวัชพืช ยาฆ่าแมลง สารกำจัดโรคพืชเป็นต้น โดยมีข้อยกเว้นในกรณีของผลิตภัณฑ์ไล่แมลงและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติบางชนิด เช่น สะเดา
  3. สร้างความหลากหลายโดยการปลูกพืชหมุนเวียนหรือการปลูกพืชร่วม (ไม่ใช่พืชเชิงเดี่ยว) : หลีกเลี่ยงการเผาและพิจารณาถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่นห้ามทิ้งขยะเรี่ยราด ห้ามทำลายพื้นที่หน้าดิน และห้ามทำลายป่าอนุรักษ์ เป็นต้น
  4. ให้ใช้เมล็ดพันธ์อินทรีย์โดยการเก็บเมล็ดพันธ์เอง หรือนำเมล็ดมาจากกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์
  5. ป้องกันการปนเปื้อน เช่น สารเคมีที่มาจากการพ่นจากแปลงข้างเคียง หากแปลงข้างเคียงมีการใช้สารเคมี ยังสามารถทำเกษตรอินทรีย์ได้ แต่ต้องมีวิธีป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนจากการใช้สารเคมีของที่นาใกล้เคียง
  6. ปรับเปลี่ยนแปลงนาที่มีทั้งหมดให้เป็นนาอินทรีย์ ห้ามไม่ให้มีการผลิตแบบคู่ขนาน โดยเกษตรกรรายเดียวกันไม่สามารถปลูกพืชชนิดเดียวกันทั้งที่เป็นอินทรีย์และไม่เป็นอินทรีย์ แม้ว่าแปลงการผลิตจะเป็นคนละแปลงก็ตาม
  7. ก่อนจำหน่ายผลผลิตอินทรีย์ได้นั้น จะต้องผ่านระยะปรับเปลี่ยนเป็นเวลาสามปี
  8. การแยกผลผลิตและการแสดงฉลาก : การเก็บผลผลิตอินทรีย์จะต้องแยกจากผลผลิตสถานภาพอื่นในทุกระยะ เริ่มตั้งแต่การเก็บเกี่ยว ตากและจัดเก็บ ต้องมีการแสดงฉลากและสัญลักษณ์ผลผลิตอินทรีย์ในระหว่างการจัดเก็บและขนส่งทุกครั้ง โดยฉลากและสัญลักษณ์ต้องระบุแหล่งที่มา (เช่น ชื่อ รหัสเกษตรกร รหัสแปลง) สถานภาพ (เช่นอินทรีย์หรือปรับเปลี่ยน) และผู้ให้การรับรอง
  9. การบันทึกและจัดเก็บเอกสาร : มาตรฐานกำหนดให้เกษตรกรต้องทำบันทึกฟาร์มและการผลิต โดยบันทึกอาจเป็นรูปแบบอย่างง่าย เหมาะสมต่อการใช้งานของเกษตรกร แต่จำเป็นต้องบันทึกเหตุการณ์ในปัจจุบันและบันทึกอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนเก็บรักษาไว้เพื่อการตรวจสอบทั้งจากภายในและภายนอก

10.ข้อตกลงและการให้ความร่วมมือกับกาตรวจสอบภายในและภายนอก

 

ในปัจจุบันหลายประเทศได้กำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ให้เป็นภาคบังคับทางกฎหมาย เช่น EC834/2007 (สหภาพยุโรป) NOP/USDA (ประเทศสหรัฐอเมริกา) Canada Organic Productions Regulation SOR/2009-176 (ประเทศแคนาดา) เป็นต้น แม้ว่ามาตรฐานของแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียด แต่โดยภาพรวมจะมีความคล้ายคลึงกันและอ้างอิงตามการนิยาม “เกษตรอินทรีย์” ที่กำหนดขึ้นโดยกลุ่มเคลื่อนไหวด้านเกษตรอินทรีย์ที่ประกอบด้วยผู้ผลิตและผู้เกี่ยวข้องจากทั่วโลกในนามสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ หรือ IFOAM นั่นเอง

 

ตลาดเกษตรอินทรีย์มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนื่องโดยตลาดใหญ่ที่สุดคือสหรัฐอเมริกา โดยคิดเป็น 46% ของส่วนแบ่งตลาดทั้งหมด รองลงมาคือเยอรมัน ฝรั่งเศส ในส่วนของทวีปเอเชียคือประเทศจีนโดยคิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 7% (ที่มา FiBL-AMI, 2018) หากเกษตรกรไทยต้องการส่งสินค้าอินทรีย์ออกไปยังประเทศคู่ค้าใด จะต้องทำการขอรับรองมาตรฐานของประเทศนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่นหากได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสหรัฐอเมริกา จะไม่สามารถใช้ได้กับมาตรฐานของยุโรป ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องมีการรับรองมาตรฐานให้ตรงกับประเทศที่ต้องการจะส่งสินค้าไปจำหน่าย โดยปกติการขอรับรองมาตรฐานยุโรปและสหรัฐอเมริกาจะสามารถทำพร้อมกันได้ เนื่องจากข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินงานสอดคล้องกัน

 

โดยภาพรวมนอกจากการทำเกษตรอินทรีย์จะส่งผลดีต่อผู้ผลิตโดยตรง เนื่องจากไม่ต้องสัมผัสสารเคมีที่เป็นอันตราย รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยหลักการเกษตรกรรมที่เป็นมิตรต่อส่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการส่งออกและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอีกด้วย ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้ผู้ผลิตทำการเพาะปลูกแบบอินทรีย์     

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2311  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 26/7/2561 16:22:28  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 22:53:39
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290