ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 2122
ชื่อสมาชิก : ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์
เพศ : หญิง
อีเมล์ : siriporn_sm@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 2/11/2559 14:14:26
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 2/11/2559 14:14:26
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  1  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
โครงการการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้การใช้โปรแกรม Amos
โปรแกรม Amos เป็นการพัฒนาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ที่มีศักยภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น โดยที่โปรแกรม SPSS (Statistical Package for the Social Science for Windows) ยังไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลตามโมเดลแบบใหม่ได้

โปรแกรม Amos เป็นการพัฒนาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM)  ที่มีศักยภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น  โดยที่โปรแกรม SPSS  (Statistical Package for the Social Science for Windows) ยังไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลตามโมเดลแบบใหม่ได้ โมเดล SEM เป็นการวิเคราะห์ตัวแปรในการวิจัยที่มีทั้งตัวแปรสังเกตได้ (observed variable) และตัวแปรแฝง (latent or unobserved variable) โดยที่ตัวแปรแฝงเป็นตัวแปรที่ไม่มีความคลาดเคลื่อนในการวัด โดยวัดได้จากตัวบ่งชี้ที่เป็นตัวแปรสังเกตได้  ดังนั้นองค์ประกอบที่สำคัญของโมเดลสมการโครงสร้าง คือ โมเดลโครงสร้าง (structural model)  ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (causal relationship) ระหว่างตัวแปรภายนอกและตัวแปรภายใน ซึ่งอาจเป็นแบบทางเดียวและแบบเส้นเชิงบวก (recursive and linear additive) หรือแบบสองทางและแบบเส้นเชิงบวก (non-recursive and linear additive) และ โมเดลการวัด (measurement model) ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแฝงกับตัวแปรสังเกตได้ ดังนั้น โมเดลสมการโครงสร้างจะสะท้อนให้เห็นถึงทั้งการวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) และการวิเคราะห์เส้นทาง (path analysis) การยืนยันหรือการทดสอบว่าโมเดลที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์หรือไม่นั้น มีสถิติวัดความสอดคล้อง ดังนี้ เช่น

1) ค่าไค-สแควร์ (chi-square) ที่ไม่มีนัยสําคัญ คือค่า p-value สูงกว่า 0.05

2) ค่าสัดส่วนไค-สแควร์/df มีค่าไม่ควรเกิน 2.00

3) ค่า goodness of fit index: GFI, adjusted goodness of fit index:AGFI, comparative fit index: CFI มีค่าตั้งแต่ 0.90 – 1.00

4) ค่า standardized root mean squared residual: standardized RMR, root mean square of error approximation: RMSEA มีค่าต่ำกว่า 0.05

5) ค่า critical n: CN มีค่าเท่ากับ หรือมากกว่า 200 ของกลุ่มตัวอย่าง

6) ค่า largest standardized residual มีค่า -2 ถึง 2

          ข้าพเจ้าคาดว่าจะนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้กับการสร้างงานวิจัยใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน สามารถนำหลักการพื้นฐานของสถิติวิเคราะห์ทั้งหมด รวมทั้งการมีประสบการณ์ตรงในการทำวิจัย มาวิเคราะห์ข้อมูลที่มีตัวแปรจำนวนมากให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น 

คำสำคัญ : AMOS SEM
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 8129  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 29/3/2561 13:27:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 15:31:30
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290