ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 289
ชื่อสมาชิก : อัจฉรา แกล้วกล้า
เพศ : หญิง
อีเมล์ : achara-k@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 10/3/2554 14:44:07
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 10/3/2554 14:44:07
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  0  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
ความรู้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ MJU Annual Conference ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ เป็นเวทีให้นักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และทุนอื่น ๆ ได้นำเสนอผลงานวิจัยที่ปิดโครงการในรอบปี ให้แก่ประชาชน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรในภาครัฐ และ ภาคเอกชน ตลอดจนร่วมนำเสนอโจทย์วิจัย รวมถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง การประชุมวิชาการประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ MJU Annual Conference นี้ ประกอบด้วยการนำเสนองานวิจัยทั้งภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์ เช่น งานวิจัยเรื่อง ผลของผงถ่านกัมมันต์จากกากกาแฟในอาหารไก่ไข่ต่อผลผลิตไข่และคุณภาพไข่ โดย รชานนท์ ธนภัทรพงศ์ บัวเรียม มณีวรรณ์ ทองเลียน บัวจูม อัจฉรา แกล้วกล้า และจุฬากร ปานะถึก มีเนื้อหาสรุปดังนี้ การปรับสีของไข่แดงด้วยการเสริมผงถ่านกัมมันต์จากกากกาแฟในอาหารไก่ไข่ ใช้แม่ไก่สายพันธุ์ ซี.พี.บราวน์ อายุ 104 สัปดาห์ จำนวน 120 ตัว ผลการศึกษาพบว่า การเสริมผงถ่านกัมมันต์จากกากกาแฟที่ระดับ 0.25 เปอร์เซ็นต์ มีแนวโน้มช่วยเพิ่มสีของไข่แดงในช่วง 5-8 สัปดาห์ของการทดลอง และงานวิจัย เรื่อง คุณสมบัติทางกายภาพและชีวภาพของแผ่นยางพาราที่ผลิตจากน้ำยางพาราโปรตีนต่ำ โดย ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน ฐิตินันท์ รัตนพรหม อัจฉรา แกล้วกล้า พรพิทักษ์ วงศ์เปี้ยจันทร์ ศุภโรจน์ โรจนสุวรรณ และ สุภิญโญ ศรีวิภักดิ์ มีเนื้อหาสรุปได้ดังนี้ งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้เอนไซม์โปรติเอสจาก แบคทีเรีย Bacillus subtilis กำจัดโปรตีนในน้ำยาง แล้วนำน้ำยางที่ได้มาทดสอบการขึ้นรูปเป็นแผ่นยางพาราสำหรับใช้เป็นแผ่นปิดแผล ผลการทดลองพบว่า สามารถขึ้นรูปด้วยกำมะถัน หรือ N,N’ Methylene-bis-acrylamide ผลการทดสอบทางชีวภาพ พบว่าเอนไซม์โปรติเอสช่วยลดปริมาณโปรตีนจากน้ำยางพาราได้จริง
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2675  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 19/3/2561 22:38:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 21:34:15
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290