ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 1308
ชื่อสมาชิก : ประทีป สุขสมัย
เพศ : ชาย
อีเมล์ : prateep@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 14/3/2556 13:20:27
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 14/3/2556 13:20:27
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  2  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
เลือกเครื่องปรับอากาศแบบใดให้ประหยัดพลังงานในหน่วยงานและที่อยู่อาศัย
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม

เลือกขนาดเครื่องปรับอากาศให้เหมาะกับการใช้งานแต่ละห้อง

สำหรับการเลือกซื้อแอร์นั้น อีกสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ขนาดของห้อง  เพราะเมื่อเราทราบขนาดของห้องที่ชัดเจน จะทำให้ง่ายต่อการเลือกขนาดของแอร์ และ การคิดค่า BTU  เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานและช่วยประหยัดพลังงาน

 BTU  คือ ขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ  โดยย่อมาจากคำว่า British Thermal Unit   ซึ่ง  1 ตันความเย็น จะเท่ากับ 12000 BTU ต่อชั่วโมง  ฉะนั้นการเลือก BTU ย่อมมีความสำคัญ เพราะจะเกี่ยวเนื่องกับการประหยัดพลังและอายุการใช้งานของแอร์

 แอร์ที่มี BTU สูงเกินไปนั้น จะทำให้การทำงานของคอมเพรสเซอร์ตัดบ่อย เนื่องจากมีการทำความเย็นได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้ประสิทธื์ภายในการทำงานลดน้อยลง  และยังส่งผลให้มีความชื้นภายในห้องสูง อาจทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยป่วยหรือไม่สบายได้ อีกทั้งยังทำให้เปลืองพลังงาน

 แอร์ที่มี BTU ต่ำเกินไปนั้น ก็จะทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดเวลาและหนักจนเกินไป  เพราะอุณหภูมิความเย็นไม่ตรงตามที่ตั้งหรือกำหนดไว้  ซึ่งจะส่งผลทำให้แอร์เสียได้ง่าย และ เปลืองพลังงาน

 โดยการเลือกขนาด BTU ให้เหมาะกับการใช้งานแต่ละห้องนั้น 

                         

เลือกแบบประหยัดพลังงาน

ความแตกต่างระหว่างเครื่องปรับอากาศแบบปกติ กับแบบ
Inverter


แบบปกติทั่วไป
                                            แบบ Inverter
- คอมเพรสเซอร์จะตัดเมื่อถึงอุณหภูมิที่ตั้งไว้         - เย็นเร็ว โดยการเร่งรอบการทำงานคอมเพรสเซอร์
- มีการกระชากไฟ เมื่อเริ่มทำงานอีกครั้ง              - ลดการตัดต่อการทำงานด้วยวิธีการลดความเร็วรอบคอมเพรสเซอร์
- อุณหภูมิไม่สม่ำเสมอ                                  - อุณหภูมิสม่ำเสมอ
                                                              
- ประหยัดพลังงาน 20-40%    
                                                            - ความทนทานสูง เพราะมีระบบป้องกันใส่ในDriver     

ขั้นตอนที่สำคัญในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
1.การทำสุญญากาศระบบ (Vacuum) 
   เพื่อดูดอากาศและความชื้นออกจากระบบปรับอากาศและสร้างพื้นที่ว่างสำหรับเติมสารทำความเย็น
2.การตรวจสอบการรั่วของระบบปรับอากาศ
   โดยสังเกตจากการทำแวคคั่ม ถ้าใช้เวลานานแล้วแต่ความดันไม่สามารถลดลงไปอยู่ที่ 30 นิ้ว
   แวคคั่มได้ แสดงว่าระบบรั่ว
3.การเติมสารทำความเย็นเข้าในระบบ
   ควรคำนึงถึงน้ำหนักของน้ำยาที่จะบรรจุ ค่ากระแสที่จ่ายเข้าคอนเดนเซอร์

วิธีการตรวจสอบคอมเพรสเซอร์(เคลม)

1.ตรวจสอบสภาพคอมเพรสเซอร์
          - ตรวจสภาพภายนอก
          - น้ำหนักคอมเพรสเซอร์
          - ค่าความต้านทานมอเตอร์
          - ค่าความเป็นฉนวน
2.ตรวจสอบด้ายการ Run ตัวเปล่า
          - การดูด/อัด
          - กระแสไฟ
          - ระดับเสียง
3.ตรวจสอบด้วยการ Run เข้าระบบน้ำยา
          - ค่ากระแสไฟ
          - ระดับเสียง
          - ความสามารถทำ Condition 

 

คำสำคัญ : ประหยัดพลังงาน
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 6174  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 9/3/2561 21:31:47  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 4:24:28
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290