ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 2164
ชื่อสมาชิก : ปิยธิดา กล่ำภู่
เพศ : หญิง
อีเมล์ : piyatida_kp@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 6/2/2560 11:30:42
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 6/2/2560 11:30:42
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  0  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
เก็บตกจากงาน Make Learning Great Again and Again and Again!
เมื่อได้มีโอกาสไปร่วมงานนำเสนอผลงานวิจัย ในหัวข้อ รูปแบบการเรียนรู้สำหรับคนรุ่นใหม่ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จึงได้รวบรวมไฮไลท์ที่น่าสนใจที่ได้ฟังจากงาน มาเล่าเป็นเก็บตกเพื่อเป็นประโยชน์กับการพัฒนาการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน

Make Learning Great Again and Again and Again!

ในฐานะอาจารย์ใหม่ที่เพิ่งก้าวข้ามจากการเป็นนักศึกษามาเป็นอาจารย์ผู้ถ่ายทอดความรู้ ในตอนเร่ิมต้นก็ต้องอาศัยการลองผิดลองถูกและหาประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงการศึกษามาเพื่อพัฒนาตัวเอง โชคดีที่มีโอกาสได้ทราบถึงงาน Make Learning Great Again and Again and Again ซึ่งเป็นการนำเสนอผลงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาและรวบรวมรูปแบบการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่จากทั้งในประเทศและต่างประเทศมานำเสนอในเวลาเพียงครึ่งวัน ส่วนตัวคิดว่า การได้รับทราบเบื้องต้นว่าคนรุ่นใหม่มีรูปแบบในการเรียนรู้อย่างไร  น่าจะมีประโยชน์สำหรับอาจารย์ใหม่อย่างเราและสำหรับอาจารย์ทุกท่านที่สนใจอยากพัฒนาตัวเอง และพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

เพื่อเป็นการเข้าใจง่ายและไม่เสียเวลามาก ขอสรุปไฮไลท์ของงานเป็นข้อๆ ดังนี้

1. การบรรยายพิเศษโดย รศ.ยื่น ภู่วรวรรณ ในหัวข้อ Imagining the Future Education and Disruptive Education สรุปได้ว่า เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป เด็กรุ่นใหม่เกิดมาเป็น Digital Native การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและข้อมูลต่างๆ เข้าถึงได้ง่ายกว่าสมัยก่อน การจะช่วยให้การเรียนการสอนได้ประสิทธิภาพมากขึ้นและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง จึงไม่ใช่การบอกหรือถ่ายทอดความรู้อีกต่อไป แต่ต้องปรับเป็นการถ่ายทอด”วิธีการเรียนรู้ (Learning Skill)”มากกว่า เพื่อที่ผู้เรียนจะสามารถนำทักษะที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ ที่ต้องการได้ด้วยตัวเอง นึกแล้วก็เหมือนกับคำกล่าวยอดฮิตที่ว่า ต้องสอนให้จับปลา มากกว่าที่จะให้ปลานั่นเอง หลังจากผู้เรียนจับปลาได้ ก็คงไม่เป็นการยากที่จะเรียนการจับกบ จับปู ต่อไปได้

2. การบรรยายสรุปผลการศึกษาวิจัยรูปแบบการเรียนรู้สำหรับคนรุ่นใหม่ โดยคุณผนวกเดช สุวรรณทัต จากสถาบันการเรียนรู้ มจธ. ร่วมกับสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) ได้รับความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับช่องทางการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ เช่น

-               MOOCs (Massive Online Open Courese) ซึ่งเป็นคอร์สออนไลน์ที่ครอบคลุมเนื้อหาที่บางครั้งหาในมหาวิทยาลัยไม่ได้ทุกแห่ง เราสามารถเรียนกับสถาบันชั้นนำระดับโลก อย่าง Stanford University ได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน

-               Youtube ซึ่งเป็นสื่อวิดีโอที่เป็นที่นิยมทั่วโลก ก็เป็นแหล่งการเรียนรู้แหล่งใหญ่ที่มองข้ามไม่ได้ เช่น เพจครูนกเล็ก ที่สอนเด็กๆด้วยรูปแบบที่สนุกสนานมีเอกลักษณ์์ เป็นต้น

-               Audio books/Podcasts คือสื่อเสียงที่กำลังได้รับความนิยม เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเรียนรู้ที่ได้ทดลองใช้แล้วพบว่าสะดวกและมีประโยชน์มากจริงๆ เช่น WitCast Podcast ฟังเรื่องวิทย์ฯสนุกๆ

-               Social medias ที่เหมือนจะเป็นแค่ช่องทางการสื่อสารระหว่างกัน แต่จริงๆ แล้วได้สอดแทรกบทเรียนต่างๆ ไว้มากมาย เช่น The Money Coach by The Momentum ที่สอนเรื่องการบริหารจัดการเงิน เป็นต้น

-               Games ที่เหมือนจะให้แต่ความบันเทิง แต่มีเกมส์อีกมากที่สอนบทเรียนและสอดแทรกความสนุกในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี เช่น Minecrafts

3. รูปแบบการเรียนรู้แบบต่างๆ มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน รวมทั้งมีความเหมาะสมต่อกลุ่มผู้เรียนที่มีพฤติกรรมแตกต่างกันอีกด้วย ดังนั้นการปรับใช้ช่องทางการเรียนรู้ จึงต้องคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก

4. ปิดท้ายด้วยการเสวนาการเรียนรู้สำหรับคนไทยโดยผู้ผลิตสื่อแนวใหม่ ทั้งคุณวัชรมัย admin youtube ครูนกเล็ก คุณแทนไท ประเสริฐกุล จากรายการ WitCast Podcast และคุณสุปิติ ผู้ก่อตั้ง Dek-D.com ที่มาถ่ายทอดความรู้ในฐานะผู้ผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์แบบต่างๆ ผ่านประสบการณ์ของตัวเอง ทำให้ทราบว่า การทำสื่อการเรียนรู้ยุคใหม่เริ่มต้นได้ไม่ยาก ถ้าคุณกล้าที่จะเปลี่ยนตัวเอง และลองอะไรใหม่ๆ รวมทั้งที่สำคัญที่สุด คือมีความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบใหม่ๆ ใครๆก็จะสามารถเป็นผู้ผลิตสื่อได้ แค่เริ่มต้น และลงมือทำ

 

จบการสัมมนาด้วยความรู้และแรงบันดาลใจที่พร้อมจะทดลองนำสื่อใหม่ๆ มาปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในอนาคต สิ่งหนึ่งที่ตระหนักได้จากการร่วมสัมมนาครั้งนี้คือ ทุกคนมีความรู้และความถนัดที่แตกต่างกัน แต่ถ้าเรามีความสนใจใฝ่ที่จะเรียนรู้ ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่เราจะเรียนไม่ได้ ที่สำคัญที่สุดน่าจะอยู่ที่ใจของเราที่พร้อมจะเปิดรับและ บอกตัวเองให้เริ่มที่จะเรียนรู้ ในฐานะอาจารย์ถึงแม้จะเรียนจบมาแล้ว การเรียนรู้ก็ไม่ได้หยุดที่ห้องเรียนจริงๆ ยังมีอะไรอีกมากมายที่น่าสนใจให้ค้นหา

 

สำหรับผู้ที่สนใจอยากรู้เพิ่มเติม ทางทีมงานได้บันทึกวิดีโอตลอดการเสวนาไว้ในลิงค์ด้านล่างนี้

YouTube live สถาบันการเรียนรู้: 

https://youtu.be/3ZUYQ0jkC20

YouTube live KMUTT:

https://youtu.be/GdsmelewO0c

 

 

ปิยธิดา กล่ำภู่

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ : Learning การเรียนรู้
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3788  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 29/8/2560 23:59:38  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 1:12:39
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290