ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 1422
ชื่อสมาชิก : ยุวลี อันพาพรม
เพศ : หญิง
อีเมล์ : yuwalee@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 17/10/2556 11:31:44
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 17/10/2556 11:31:44
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  0  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
ทรัพยากรชีวภาพสู่ผลิตภัณฑ์ระดับโลก
จากการที่ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติเรื่อง ทรัพยากรชีวภาพสู่ผลิตภัณฑ์ระดับโลก ครั้งที่ 3 วันที่ 9-11 ธันวาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดยกลุ่มวิทยาการและวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยจากประเทศไทย เกาหลี ไต้หวัน ญี่ปุ่น เวียดนาม และมาเลเซีย ซึ่งได้นำทรัพยากรชีวภาพ มาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับอาหาร สุขภาพ และยารักษาโรค งานวิจัยมีทั้งที่เป็นงานวิจัยพื้นฐานจนถึงเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้เปิดโอกาสให้บุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ ได้รับทราบและแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องความสำคัญ การทำวิจัยและนำไปใช้ของทรัพยากรชีวภาพในโลก ในประเด็นที่ข้าพเจ้าได้ให้ความสนใจคือ เรื่อง สารสกัดธรรมชาติแอนโทไซยานิน (anthocyanin) และเมลาโทนิน (melatonin) เพื่อพัฒนาเป็นยารักษาแผลในปาก

สารแอนโทไซยานิน เป็นรงควัตถุหรือสาร ที่ให้สีแดง ม่วง และน้ำเงิน พบในดอกไม้ ผลไม้ที่ให้สีม่วง สารสกัดแอนโทไซยานิน มีสมบัติเป็นโภชนะเภสัช (nutraceutical) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมอง ด้วยการยับยั้งไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อน ชะลอความเสื่อมของดวงตา ช่วยยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรค ในระบบทางเดินอาหาร แอนโทไซยานินเป็นเป็นรงควัตถุที่ละลายน้ำได้จัดอยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์เป็นสารให้สีตามธรรมชาติ โดยสีของแอนโทไซยานินจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะความเป็นกรด-ด่างแอนโทไซยานินมีโครงสร้างเป็น แบบ C6-C3-C6 ซึ่งเป็นไกลโคไซด์ของ 2-phenylbenzopyrylium หรือ flavylium cation ที่มีด้วยกันหลายชนิด แต่มีอยู่ 6 ชนิดเท่านั้นที่พบบ่อย ได้แก่ pelargonidin,cyanidin, delphinidin,peonidin,petunidin และ malvidinในสารละลายตัวกลางแอนโทไซยานินจะทำหน้าที่เป็นอินดิเคเตอร์วัดความเป็นกรด-ด่าง (pH indicator) แหล่งของแอนโทไซยานิน ได้แก่ มันเทศสีม่วง ชมพู่มะเหมี่ยว ชมพู่แดง ลูกหว้า ข้าวแดง ข้าวนิล ข้าวเหนียวดำ ถั่วแดง ถั่วดำ หอมแดง ดอกอัญชัน ว่านกาบหอย เผือก หอมหัวใหญ่สีม่วง มะเขือม่วง พริกแดง องุ่นแดง-ม่วง แอปเปิลแดง ลูกไหน ลูกพรุน ลูกเกด ลูกหม่อน บลูเบอรี่ เชอรี่ แบล็กเบอรี่ ราสเบอรี่ สตรอเบอรี่

เมลาโทนิน (melatonin) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากสารเซโรโทนิน (Serotonin) ที่เซลล์ไพเนียล (pinealocytes) ซึ่งอยู่ในต่อมไพเนียล (pineal gland) เป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วนกลาง และช่วยการกระตุ้นการปรับเปลี่ยนระบบนาฬิกาของร่างกาย (circadian rhythm) เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่เกิดจากการสังเคราะห์มาจากกรดอะมิโน ทริปโตเฟน (Tryptophan) โดยมีการสร้างขึ้นที่ลำไส้ใหญ่ จอตาและต่อมไพเนียล โดยมีความมืดเป็นตัวกระตุ้นและหยุดหลั่งเมื่อเจอแสงสว่าง ปริมาณของเมลาโทนินจะเพิ่มสูงขึ้นในตอนกลางคืนเริ่มตั้งแต่ประมาณ 22 นาฬิกา ปริมาณสูงสุดประมาณ 3 นาฬิกา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย ประโยชน์ของเมลาโทนินนั้นเชื่อกันว่าช่วยบรรเทาอาการเพลียหลังการโดยสารเครื่องบิน (Jet-Lag) และการทำงานเป็นกะ เมลาโทนินถือว่าเป็นสารที่ช่วยปรับสภาพร่างกายในรอบวันเพราะคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับความสว่างและความมืด (circadian rhythm) เมลาโทนินเหนี่ยวนำให้เกิดการนอนหลับลึก ช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth hormone) ความผิดปกติเรื้อรังของการนอน อาจทำให้หยุดการเจริญเติบโตก่อนเวลาอันควร ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของเมลาโทนินยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสารเมลาโทนินสามารถพบได้ในพืชเช่นกัน โดยพบได้ในข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต สารเมลาโทนินมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ป้องกันอาการไมเกรน ซึ่งสารเมลาโทนินในประเทศไทยยังเป็นที่รู้จักกันค่อยข้างในวงจำกัดหากเปรียบเทียบกับแอนโทไซยานิน แต่มีแนวโน้มเป็นไปได้ในอนาคตที่จะสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ยาได้

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 8065  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 17/3/2560 1:23:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 20:46:05
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290