ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 1927
ชื่อสมาชิก : จิราดร ถิ่นอ่วน
เพศ : ชาย
อีเมล์ : Jiradon_t@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 24/6/2558 16:20:54
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 24/6/2558 16:20:54
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  0  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
การจัดสถานที่ในการทำงานและการยืดกล้ามเนื้อในระหว่างการทำงาน
การจัดสถานที่ในการทำงานและท่าทางที่เหมาะสมในการทำงานสำคัญอย่างไร? เคยมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อคอ ไหล่และหลังกันบ้างรึเปล่า? เคยมีอาการปวดศีรษะ ปวดตากันบ้างไหม? แล้วทำไมเราถึงเกิดอาการเหล่านี้ได้ละ? การทำงานในแต่ละวันนั้นบุคลากรต้องปฏิบัติงานในท่าทางซ้ำๆไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้เกิดอาการ Office syndrome ซึ่งจะมีอาการปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่และข้อศอก ปวดข้อมือและมือ ปวดขา ปวดศีรษะและตา เป็นต้น ทั้งๆที่อาการเหล่านี้สามารถป้องกันไม่ให้เกิด หรือหากเกิดแล้วสามารถลดความรุนแรงของอาการได้ หากเรามีความรู้ความเข้าใจในการจัดสถานที่ทำงานและมีท่าทางที่เหมาะสมในการทำงาน

โครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2559

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

การจัดสถานที่ในการทำงานและการยืดกล้ามเนื้อในระหว่างการทำงาน 

โดย...อาจารย์จิตตรัตน์ ตันเสนีย์

            การจัดสถานที่ในการทำงานและท่าทางที่เหมาะสมในการทำงานสำคัญอย่างไร?

            เคยมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อคอ ไหล่และหลังกันบ้างรึเปล่า? เคยมีอาการปวดศีรษะ ปวดตากันบ้างไหม? แล้วทำไมเราถึงเกิดอาการเหล่านี้ได้ละ?

            การทำงานในแต่ละวันนั้นบุคลากรต้องปฏิบัติงานในท่าทางซ้ำๆไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้เกิดอาการ Office syndrome ซึ่งจะมีอาการปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่และข้อศอก ปวดข้อมือและมือ ปวดขา ปวดศีรษะและตา เป็นต้น ทั้งๆที่อาการเหล่านี้สามารถป้องกันไม่ให้เกิด หรือหากเกิดแล้วสามารถลดความรุนแรงของอาการได้ หากเรามีความรู้ความเข้าใจในการจัดสถานที่ทำงานและมีท่าทางที่เหมาะสมในการทำงาน

            แล้วเรามีปัญหาเรื่องการจัดสถานที่ทำงานและมีท่าทางที่เหมาะสมในการทำงานจริงๆรึเปล่า?

 

 

            จากรูปจะเห็นได้ว่า ทุกๆวันเราทำงานด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสม และสามารถสะสมจนเกิดอาการปวดตามร่างกายได้ ซึ่งสาเหตุหลักๆที่เกิดอาการเจ็บปวดคือ

  1. ท่าทางหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
  2. สภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสม
  3. สาเหตุจากปัญหาโครงสร้างร่างกาย

แต่แน่นอนว่า เราสามารถแก้ไขได้เฉพาะการจัดสถานที่ทำงานให้ดีและมีท่าทางในการทำงานที่ดีเท่านั้น

แล้วทำอย่างไรละ?

 

ที่มา: http://www.ams.cmu.ac.th/amscsc/article/article9.html

            ท่านั่งทำงานที่เหมาะสม นั่งหลังตรงไม่โน้มตัวไปข้างหน้า เก็บแขนใกล้ลำตัว ผ่อนคลายหัวไหล่ หากมีที่วางแขน ให้วางแขนบนที่วางแขน การผ่อนคลายหัวไหล่ได้จะทำให้ลดอาการปวดบ่าและไหล่ได้มาก หน้าจอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ระดับสายตาหรือมุมก้มคอลงมาไม่เกิน 30 องศา ควรเลือกเก้าอี้ที่มีความสูงพอดีกับขาอย่าสูงเกินไป หากเท้าไม่สามารถวางกับพื้นได้ราบ ให้ใช้ที่วางเท้า และข้อมือไม่ควรให้บิดงอ

            แน่นอนว่าทุกคนไม่สามารถซื้ออุปกรณ์ใหม่เพื่อให้โต๊ะ เก้าอี้หรือคอมพิวเตอร์พอดีกับคนใช้ ทางวิทยากรจึงได้แนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ปรับเก้าอี้ให้สูงพอดีกับคอมพิวเตอร์แล้วหากล่องมาวางกับพื้น เพื่อไม่ให้เท้าลอย จะช่วยลดอาการปวดขาได้ หรือการหาหมอนใบเล็กๆมาหนุนที่หลัง เพื่อให้หลังสามารถพิงพนักเก้าอี้ได้ จะช่วยลดอาการปวดหลังได้ เป็นต้น

            แต่ทั้งนี้ตัวบุคลากรเองต้องตระหนักด้วยว่าท่าทางบางท่าที่ใช้ในการทำงานไม่เหมาะสม ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ไม่พอดีกับตัวผู้ใช้ เช่น การนั่งคอยื่นไปข้างหน้า หรือ นั่งไขว้ห้าง เป็นต้น

            แต่เฉพาะแค่การการจัดสถานที่ในการทำงานและท่าทางที่เหมาะสมในการทำงานยังไม่เพียงพอต่อการลดอาการเจ็บปวดจากการทำงาน เนื่องจากการทำงานในท่าทางซ้ำๆ และติดต่อกันนานๆ มักจะเกิดอาการปวดเมื่อย จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 30 นาทีและยืดกล้ามเนื้อ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการลดอาการเจ็บปวดจากการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งประโยชน์ของการยืดกล้ามเนื้อมีดังนี้

  1. เพิ่มมุมการเคลื่อนไหวของข้อต่อ
  2. เพิ่มประสิทธิภาพในการหดตัวของกล้ามเนื้อ
  3. ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายลดความตึงเครียด
  4. ปรับลักษณะท่าทางให้สมดุล

การให้ความรู้เรื่องการยืดกล้ามเนื้อในระหว่างการทำงาน

 

            ซึ่งหลังจากการให้ความรู้ในเรื่องยืดกล้ามเนื้อไปแล้วนั้น บุคลากรสามารถนำไปใช้ได้ทันที และสามารถลดอาการปวดตึงกล้ามเนื้อเนื่องจากการทำงาน ทำให้เพิ่มศักยภาพในการทำงานได้มากยิ่งขึ้นเนื่องจากมีความรู้สึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อมากยิ่งขึ้นและลดอาการเจ็บปวดสะสมได้อีกด้วย

คำสำคัญ : การจัดสถานที่การทำงาน การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ท่าทางการทำงาน
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4432  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 29/8/2559 16:05:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 0:20:12
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290