ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 2075
ชื่อสมาชิก : นิกร มหาวัน
เพศ : ชาย
อีเมล์ : nikorn.m@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 8/6/2559 10:23:22
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 8/6/2559 10:23:22
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  4  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
แนวทางการพัฒนาเมือง : สรุปมุมมองจากปาฐกถาพิเศษ โดย ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี
ข้อความต่อไปนี้เป็นการสรุปความเข้าใจของผู้เขียนที่ได้จากการฟังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐศาสตร์กับการพัฒนาเมืองในอนุภาคลุ่มน้ำโขง” โดย ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ในเวทีการประชุมวิชาการระดับชาติด้านสถาปัตยกรรมและการวางแผน ประจำปี 2559 ณ โรงแรมเซ็นทาราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2559 ซึ่งท่านได้ให้ข้อมูลและมุมมองที่กว้างไกลในหลายเรื่อง แต่ในที่นี้จะเป็นการสรุปมุมมองเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองเท่านั้น

แนวทางการพัฒนาเมือง : สรุปมุมมองจากปาฐกถาพิเศษ โดย ดร. ณรงค์ชัย  อัครเศรณี

ข้อความต่อไปนี้เป็นการสรุปความเข้าใจของผู้เขียนที่ได้จากการฟังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐศาสตร์กับการพัฒนาเมืองในอนุภาคลุ่มน้ำโขง” โดย ดร. ณรงค์ชัย  อัครเศรณี ในเวทีการประชุมวิชาการระดับชาติด้านสถาปัตยกรรมและการวางแผน ประจำปี 2559 ณ โรงแรมเซ็นทาราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2559 ซึ่งท่านได้ให้ข้อมูลและมุมมองที่กว้างไกลในหลายเรื่อง แต่ในที่นี้จะเป็นการสรุปมุมมองเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองเท่านั้น

ท่านเริ่มจากการฉายภาพสถานการณ์การเติบโตของพื้นที่เมืองที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา และมีแนวโน้มการขยายตัวที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ แต่ต้องมีการเตรียมตัวอย่างไรจึงจะทำให้การขยายตัวของพื้นที่เมืองเป็นการเติบโตที่ดี กล่าวอีกนัยหนึ่ง เมืองที่มีการเติบโตที่ดี คือ เมืองที่พลเมืองสามารถสร้างผลผลิต (Productivity) ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักการที่ดีสำหรับการจัดการการเติบโตของเมืองให้มีประสิทธิภาพ คือ การจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอ ซึ่งทรัพยากรที่สำคัญของเมืองหมายถึงพื้นที่ ดังนั้นความต้องการจัดการการเติบโตของเมืองที่มีประสิทธิภาพต้องมีการจัดการพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม อันควรประกอบด้วย 2 ประเด็นหลักที่สำคัญ คือ

1)      เมืองต้องการนโยบายทางเศรษฐกิจที่ดี

ในทางเศรษฐศาสตร์เมือง (Urban Economics) กลไกทางตลาดจะเป็นผู้จัดการความต้องการซื้อและต้องการขายที่ดีที่สุด แต่ในการจัดการเชิงพื้นที่ของเมืองด้วยระบบตลาดอาจกระทบต่อประชาชนส่วนมากของเมือง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมดูแลกลไกตลาดไม่ให้ส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่มากนัก นั้นหมายความว่า เมืองจำเป็นต้องมีการกำหนดนโยบายและองค์กรในกำกับการพัฒนาพื้นที่อย่างเหมาะสม (Political Economy) ซึ่งการพัฒนาพื้นที่อย่างเหมาะสมหมายถึง การทำให้เมืองมีพื้นที่อยู่อาศัยอย่างเพียงพอ (Available) ในขณะเดียวกันประชาชนทั่วไปต้องสามารถจ่ายสำหรับพื้นที่อาศัยได้อย่างเหมาะสม (Affordable) และต้องเป็นที่ยอมรับร่วมกันของคนส่วนใหญ่ (Acceptable)

2)      เมืองต้องการระบบการขนส่งที่ดี

เมืองจำเป็นต้องมีการจัดเตรียมระบบขนส่งที่เหมาะสม หมายถึง ความสามารถในการเชื่อมโยงพื้นที่ในเมืองได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพโดยที่ต้นทุนสำหรับการขนส่งของประชาชนต้องไม่สูง และต้องมีการเตรียมการรองรับสำหรับการเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นๆ ในภูมิภาคได้เป็นอย่างดี

ในส่วนแนวทางที่จะพัฒนาไปสู่ความเป็นเมืองที่น่าอยู่ ท่านได้เสนอแนวคิดไว้ว่า ควรสร้างความสมดุลในการดำเนินงานของภาครัฐกับภาคเอกชนให้สอดคล้องกัน หมายความว่า ในทางพฤติกรรม ภาคเอกชนจะดำเนินการสิ่งใดต้องมีผลตอบแทนจึงดำเนินการ ในขณะที่การดำเนินการของภาครัฐในปัจจุบันและที่ผ่านมาชอบที่จะคล้อยตามภาคเอกชน ดังนั้น การจะเชื่อมการดำเนินงานที่สมดุลระหว่างภาครัฐและเอกชน ควรเริ่มจากโครงการที่ให้ผลตอบแทนที่ทั้งสองฝ่ายพอใจ ในตอนนี้ โครงการที่น่าจะเหมาะสม คือ การผลิตไฟฟ้าจากขยะ ซึ่งภาคเอกชนจะได้ผลตอบแทนจากการขายกระแสไฟฟ้าในขณะที่ภาครัฐสามารถจัดการปัญหาขยะของเมืองที่เป็นปัญหามาช้านานได้ นอกจากนั้นโครงการด้านการจราจรก็เป็นอีกลักษณะหนึ่งที่มีแนวโน้มที่ควรสนับสนุนให้ภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้แนวโน้มของสาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฉบับต่อไป มีทิศทางที่จะให้แต่ละภาคหรือท้องถิ่นพัฒนาได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องรอการพัฒนาจากส่วนกลางอีกต่อไป

ข้อสรุปของผู้เขียนที่ได้จากการฟังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐศาสตร์กับการพัฒนาเมืองในอนุภาคลุ่มน้ำโขง” โดย ดร. ณรงค์ชัย  อัครเศรณี เป็นความเข้าใจและประมวลข้อมูลแล้วสรุปเนื้อหาออกมาซึ่งอาจมีความคลาดเคลื่อนในความหมายและไม่คลอบคลุมเนื้อหาที่ท่านผู้บรรยายต้องการนำเสนอต่อผู้ฟังทั้งหมด ทั้งนี้ผู้เขียนขอน้อมรับความผิดพลาดดังกล่าว แต่เนื่องจากเนื้อหาของปาฐกถาดังกล่าวเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อโดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง ดังนั้นผู้เขียนจึงเห็นว่าการไม่เผยแพร่แนวคิดที่ได้จากปาฐกถานี้เป็นสิ่งที่จะเสียโอกาสที่จะทำให้เกิดแนวทางการพัฒนาเมืองที่ดีต่อไป อย่างไรก็ตาม โดยความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเห็นว่า การสร้างความสมดุลในการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองในด้านต่างๆ โดยให้ภาคเอกชนเข้ามาเป็นผู้ดำเนินการอาจไม่อำนวยประโยชน์ต่อประชาชนในภาพรวม หากกระบวนการดำเนินโครงการนั้นไม่ได้ให้ความสำคัญต่อชุมชนที่เป็นหน่วยย่อยในสังคมอย่างจริงจัง ดังนั้น ทิศทางการพัฒนาที่จะให้แต่ละภาคหรือเมืองพัฒนาได้ด้วยตนเองจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ถ้าเป็นการส่งเสริมหรืออำนวยประโยชน์ให้เกิดการพัฒนาชุมชนโดยการส่งเสริมความสามารถในการพึ่งพาตนเองของชุมชนและจัดการชุมชนได้ด้วยชุมชนเอง ซึ่งเมื่อหน่วยย่อยของสังคมเข้มแข็งแล้ว เมือง ภูมิภาค และประเทศ ย่อมเข้มแข็งตามโดยลำดับ

คำสำคัญ : การดำเนินโครงการพัฒนาโดยท้องถิ่น
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5317  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 29/6/2559 21:25:48  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 6:29:08
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290