ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 2075
ชื่อสมาชิก : นิกร มหาวัน
เพศ : ชาย
อีเมล์ : nikorn.m@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 8/6/2559 10:23:22
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 8/6/2559 10:23:22
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  2  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
แนวทางการพัฒนาเมือง : น่าตื่นเต้นกับประชาชนเมืองขอนแก่น
การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่โดยท้องถิ่นเป็นการประยุกต์ใช้แนวความคิดไปสู่การปฎิบัติ ซึ่งต้องพึงพาการสนับสนุน(งบประมาณจากรัฐบาล)จึงเป็นข้อจำกัดในความสำเร็จของการดำเนินโครงการของท้องถิ่นมาโดยตลอด เมืองขอนแก่นเป็นเมืองแรกที่มีความพยายามดำเนินโครงการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในท้องถิ่นโดยไม่พึงพางบประมาณจากส่วนกลาง ซึ่งเป็นความท้าทายในการดำเนินการและเป็นโจทย์ที่เมืองอื่นๆ ต้องพิจารณา

วันนี้ทุกภาคส่วนในเมืองขอนแก่นกำลังพูดกันถึงโครงการพัฒนาเมืองขอนแก่นอย่างชาญฉลาด (Smart City Model) ที่ประกอบด้วย ท้องถิ่น(เทศบาลเมืองขอนแก่นและเทศบาลข้างเคียง) กลุ่มธุรกิจเอกชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3 แกนหลักที่ร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองขอนแก่นให้เป็นไปตามความต้องการของคนในเมืองขอนแก่นเอง โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในเมืองขอนแก่นตามลำดับ

การเสวนาวิชาการ หัวข้อ partnership for new urbanization ในการประชุมวิชาการระดับชาติด้านสถาปัตยกรรมและการวางแผน ณ โรงแรมเซนทาราคอนเวนชันเซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น วันที่ 24 มิถุนายน 2559 เวทีเสวนาได้นำเสนอประเด็น การสร้างเมืองขอนแก่นให้เป็นเมืองที่มีการพัฒนาอย่างชาญฉลาด ที่น่าสนใจคือไม่ใช่มีเพียงการเสนอแนวคิดทางวิชาการ แต่ยังมีการนำเสนอข้อมูลการดำเนินงานการพัฒนาเมืองขอนแก่นอย่างชาญฉลาดที่ผ่านมาซึ่งเป็นสิ่งที่น่าทึ่งกับการประยุกต์ใช้แนวความคิดที่ก้าวหน้าไปสู่การปฏิบัติและกระบวนการสร้างความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ อย่างเป็นระบบ

เป้าหมายระยะแรกของโครงการ คือ การเป็นเมืองที่มีการเดินทางที่สะดวก เนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาเรื่องจราจร เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เทศบาลร่วมกับภาคเอกชน ได้ศึกษาระบบการขนส่งที่เหมาะสมกับเมืองซึ่งสรุปได้ว่าควรใช้ระะบบ BRT (Bus Rapid Transit)  แต่ปัญหา คือ หาผู้ดำเนินการไม่ได้เพราะมีค่าลงทุนสูงและไม่คุ้มทุน แต่เทศบาลและเอกชนในพื้นที่เห็นว่าเป็นความจำเป็นของพื้นที่ จึงมีแนวคิดที่จะดำเนินการโดยท้องถิ่นเองแต่ไม่มีอำนาจในการดำเนินการ ดังนั้น เทศบาลเมืองขอนแก่นจึงได้ทำหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทยเพื่อขออนุญาตดำเนินการ และได้รับหนังสืออนุมัติจากรัฐบาล(คสช)แล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบระบบขนส่งแบบรางเบา ซึ่งกระบวนการดำเนินงานเป็นการแบ่งงานกันทำ โดยเทศบาลดำเนินการด้านการให้ได้มาซึ่งอำนาจดำเนินการตามกฎหมาย มหาวิทยาลัยขอนแก่นดำเนินการด้านวิชาการ และภาคเอกชนเตรียมความพร้อมด้านทุน โดยรูปแบบการบริหารจัดการเป็นการจัดตั้งบริษัทพัฒนาเมืองขึ้นเพื่อระดมทุนจากประชนชนในเมืองขอนแก่น

ประเด็นที่น่าสนใจ คือ โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปเกิดจากนโยบายของรัฐ ยังไม่มีโครงการขนาดใหญ่ใดที่เกิดจากกระบวนการพัฒนาเมืองที่เสนอโดยท้องถิ่น ในขณะที่โครงการขนส่งระบบรางของเมืองขอนแก่นหากเกิดขึ้นได้จริง จะเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่ของประเทศไทยที่เป็นการดำเนินโครงการพัฒนาขนาดใหญ่โดยท้องถิ่นร่วมกับภาคเอกชนในพื้นที่ โดยไม่พึ่งพางบประมาณจากส่วนกลาง แม้ว่ายังเป็นโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ แต่เป็นโจทย์ที่เมืองขอนแก่นได้ตั้งขึ้นให้กับเมืองอื่นๆ รวมถึงนักวางแผนเมืองทั้งที่อยู่ในภาคราชการและการศึกษาต้องทบทวนแนวทางและบทบาทของตนในการดำเนินงานในระยะต่อไปภายหน้าหากต้องการพัฒนาเมืองของตนให้ความยั่งยืน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างแท้จริง

คำสำคัญ : การพัฒนาพื้นที่โดยท้องถิ่น
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4446  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 25/6/2559 22:12:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 11:03:25
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290