ระบบแจ้งเตือน : ระบบจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเมื่อทำงานบน IE Version 8.0 ขึ้นไป [Download]
หน้าหลักระบบบริหารจัดการความรู้ ทีมงานพัฒนาระบบ ทีมงานพัฒนาระบบ
E-Mail(มหาวิทยาลัย)

Password

** รหัสผ่านเดียวกับที่ใช้ในระบบ e-mail มหาวิทยาลัย
 
รายละเอียดบทความ
ตอนที่ 1 : ข้อมูลผู้เขียนบทความ
รหัสอ้างอิง : 53
ชื่อสมาชิก : จรัสพิมพ์ บุญญานันต์
เพศ : หญิง
อีเมล์ : cboony@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 12/1/2554 0:00:00
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 12/1/2554 15:21:43
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
ตอนที่ 2 : ระดับความชอบที่ผู้อ่านมีต่อบทความนี้
ชอบ  168  คน ไม่ชอบ  0  คน
ตอนที่ 3 : รายละเอียดบทความ
นครบาบิโลน (Babylon)
เอโรโดตุสได้กล่าวถึงนครบาบิโลนไว้ว่า เป็นเมืองที่ถูกสร้างขึ้นบนที่ราบโล่ง และมีรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ แต่ละด้านกว้าง 120 สเตด (stades) นั่นคือประมาณ เกือบๆ 14 ไมล์รวมความยาวรอบกำแพงเมืองเท่ากับ 480 สเตด ล้อมรอบไปด้วยกำแพงอิฐขนาดใหญ่มหึมา สูง 340 ฟุต และหนาเกือบ 90 ฟุต มีคูเมืองกว้างและลึกเต็มไปด้วยน้ำ มีประตูทางเข้า 100 ประตู

นครบาบิโลน (Babylon)


แปลจาก Ancient Town-Planning, by F. Haverfield, 1913. 

Via The Project Gutenberg EBook

แปลโดย จรัสพิมพ์ บุญญานันต์

ภาพประกอบและเนื้อหาทั้งหมดอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์  (CC-BY-NC-SA)


 

          ต้นกำเนิดของแนวความคิดและแนวทางทางปฏิบัติในการวางผังเมืองก็เป็นเช่นเดียวกับจุดเริ่มต้นของความคิดและธรรมเนียมปฏิบัติอื่นๆ คือแทบจะไม่เป็นที่รู้จักหรือไม่มีการจดบันทึกไว้อย่างดี เรื่องเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญอย่างยิ่งและไม่เป็นที่สนใจสังเกตจากคนร่วมสมัย รูปแบบการวางผังเมืองในยุคแรกๆเกิดขึ้นที่ประเทศกรีซในช่วงระหว่างศตวรรษที่ 4 -5 ก่อนคริสตกาล จุดกำเนิดของรูปแบบเหล่านี้ยังคงคลุมเครือไม่ชัดเจน การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในลักษณะของเมืองที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งยังคงไม่ถูกสำรวจในพื้นที่ใกล้ๆกับประเทศกรีซก็คือที่เมืองคาฮัน (Kahun) ในประเทศอียิปต์ ซึ่งมีอายุประมาณ 2500 ปีก่อนคริสตกาล ที่นี่ศาสตราจารย์ ฟลินเดอส์ แพทรี (Flinders Petrie) ได้ทำการขุดค้นพบกระท่อมขนาด 4 ห้อง หลายหลังวางเรียงตัวชิดกันเป็นกลุ่มช่วงตึกรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ขนานกัน และยังมีบ้านขนาดใหญ่กว่านั้นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าอีกเล็กน้อย อาคารเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นที่พักอาศัยของคนงานและผู้ควบคุมงาน ที่กำลังยุ่งอยู่กับการก่อสร้างปิรามิดอิลลาฮันซึ่งอยู่ใกล้เคียง [1] แต่กลุ่มการตั้งถิ่นฐานแห่งนี้มีขนาดเล็กมาก ครอบคลุมพื้นที่ที่มีขนาดเล็กกว่า 20 เอเคอร์ ซึ่งยังไม่สามารถถือได้ว่าเป็นเมืองอย่างแท้จริง และการวางผังก็ไม่ปรากฏรูปแบบหรือสัดส่วนของผังเมือง ด้วยเหตุนี้เราจึงหันไปหาทวีปเอเชียตะวันออก ไปยังอาณาจักรบาบิโลเนีย (Babylonia) และ อัสซีเรีย (Assyria)

ภาพที่ 1 แผนผังแสดงตำแหน่งที่ตั้งของอาณาจักรบาบิโลเนียและอัสซีเรียโบราณในประเทศอิรัค

ที่มา: labanex.  2547.  “Babylon 057”.  [ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มา http://www.flickr.com/photos/labanex/1396364359/in/photostream/ (1 ธันวาคม พ.ศ. 2555).

          ที่นี่เราสามารถหาหลักฐานที่มีความชัดเจน เมืองอันยิ่งใหญ่ของที่ราบเมโสโปเตเมีย แสดงเค้าโครงรางๆของการวางผังเมือง ที่สามารถกำหนดอายุได้ในราวศตวรรตที่ 8 เป็นต้นมา ซึ่งดูเหมือนว่าชาวกรีกจะเคยได้เห็นได้ยินและอาจจะทำการลอกเลียนแบบมา แน่นอนว่าความรู้ของพวกเราเกี่ยวกับเมืองเหล่านี้ยังคงเป็นเพียงกระท่อนกระแท่น และแม้ว่าจะรู้มากขึ้น จากการขุดสำรวจของชาวเยอรมันในครั้งล่าสุดก็ตาม ยังคงไม่สามารถทำให้เราได้ข้อสรุปที่แน่นอนชัดเจน หลักฐานที่ปรากฏมี 2 ส่วน คือ ในส่วนวรรณกรรม จากนักเขียนชาวกรีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมากที่สุดจากคำบรรยายของเอโรโดตุส (Herodotus) และในส่วน ทางด้านโบราณคดี จากซากปรักหักพังของอาณาจักรแอสซีเรีย (Assyria) และบาบิโลเนีย (Babylonia) 

          เอโรโดตุสได้บรรยายเกี่ยวกับนครบาบิโลนไว้ว่า เมืองนี้เป็นเมืองที่มีชื่อเสียง [2] แม้แต่ในยุคสมัยของเขา มันเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีมากเพียงพอที่จะถูกนำมาเขียนล้อเลียนโดยนักแสดงตลกร่วมสมัยในโรงละครของชาวเอเธน เป็นไปได้ว่าเรื่องราวเหล่านั้นจะถูกถ่ายทอดโดยผู้ที่มีความรู้ผ่านประสบการณ์ตรง เอโรโดตุสทำให้เราเข้าใจได้ว่าเขาได้ไปเยือนเมืองบาบิโลนตามเส้นทางเดินทางหนึ่งในการเดินทางท่องเที่ยวหลายๆครั้งของเขาและเราก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่เชื่อถือเขาในเรื่องนี้ เราอาจจะคาดการณ์ถึงช่วงเวลาที่เขาได้เดินทางไปเยือนเมืองนี้ได้ในราว 450 ปี ก่อนคริสตกาล แท้จริงแล้วเขาไม่ใช่ชาวกรีกเพียงคนเดียวและคนแรกในสมัยนั้น ที่ได้เดินทางไปไกลถึงเพียงนั้น แต่อย่างไรก็ดีเขาไม่ได้อ้างว่าเป็นผู้ที่ได้ประสบพบเห็นมาด้วยตาของตัวเอง เช่นเดียวกับนักเขียนคนอ่านๆในหลายยุคหลายสมัย [3] เขาไม่ได้ขีดเส้นแบ่งอย่างชัดเจนระหว่างรายละเอียดที่เขาได้ประสบพบเห็นมา และรายละเอียดที่เขาได้เรียนรู้มาจากผู้อื่น บางทีเพื่อประโยชน์ให้เกิดความชัดเจน เขาอธิบายทั้งหมดรวมกัน และรายละเอียดเหล่านั้นจะต้องถูกตัดสินไม่ใช่ในฐานะที่เป็นหลักฐานชั้นต้น แต่ตัดสินจากความดีของตัวมันเอง

 

ภาพที่ 2 ประติมากรรมรูปเหมือนของเอโรโดตุส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก

ที่มา: Marsyas. 2548.  “File:AGMA Hérodote.jpg”.  [ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/File:AGMA_H%C3%A9rodote.jpg (1 ธันวาคม พ.ศ. 2555).

          เอโรโดตุสได้กล่าวถึงนครบาบิโลนไว้ว่า เป็นเมืองที่ถูกสร้างขึ้นบนที่ราบโล่ง และมีรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ แต่ละด้านกว้าง 120 สเตด (stades) นั่นคือประมาณ เกือบๆ 14 ไมล์รวมความยาวรอบกำแพงเมืองเท่ากับ 480 สเตด ล้อมรอบไปด้วยกำแพงอิฐขนาดใหญ่มหึมา สูง 340 ฟุต และหนาเกือบ 90 ฟุต มีคูเมืองกว้างและลึกเต็มไปด้วยน้ำ มีประตูทางเข้า 100 ประตู ซึ่งเราน่าจะเข้าใจได้ว่าประตูเหล่านี้ถูกจัดเรียงแบบสมมาตร แต่ละด้านของกำแพงมี 25 ประตู จากมุมด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งของเมืองถูกตัดเป็นเส้นทะแยงมุมโดยแม่น้ำยูเฟรทีส (Euphrates) ซึ่งตัดผ่าเมืองออกเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีขนาดใกล้เคียงกัน 2 ส่วน และริมฝั่งแม่น้ำมีป้อมปราการป้องกันที่ทำด้วยอิฐ ซึ่งดูน่าเกรงขามน้อยกว่ากำแพงหลักชั้นนอก ที่เชื่อมระหว่างป้อมเหล่านี้จากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งของเมือง และยังมีกำแพงชั้นในทางด้านฝั่งพื้นดินเข้ามา ถนนก็ดูโดดเด่นไม่ธรรมดาอีกด้วย

           เขายังกล่าวอีกว่า เมืองนี้เต็มไปด้วยอาคารบ้านเรือนสูง 3 – 4 ชั้น วางเรียงรายตามแนวถนน เส้นตรง ที่โดดเด่นคือที่อาคารบ้านเรือนที่เรียงตามถนนที่วิ่งตามมุมฉาก นั่นคือมุ่งตรงสู่แม่น้ำ ถนนแต่ละสายจะมุ่งตรงไปยังประตูเมืองเล็กๆที่กำแพงอิฐริมฝั่งแม่น้ำ มีประตูเมืองจำนวนมากพอๆกับจำนวนของถนน [4] ในแต่ละส่วนของเมือง (ที่อยู่คนละฝากของแม่น้ำยูเฟรทีส) ต่างมีอาคารขนาดใหญ่เป็นพิเศษ ฝากหนึ่งมีพระราชวังหลวง อีกฝากหนึ่งมีมหาวิหารของเทพเจ้าซีอุส เบลอส (Zeus Belos) ซึ่งมีประตูทำด้วยทองสัมฤทธิ์ มีรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้างยาวด้านละ 400 หลา

          จนถึง ณ ตอนนี้แล้วถ้อยคำของเขาทำให้นึกถึงการรูปแบบวางผังเมืองโดยย่อๆ ประโยคที่กล่าวว่าถนนที่ทอดตัวในแนวตรงและถนนสายอื่นๆที่ทอดตัวทำมุมฉากนั้นแสดงความหมายที่ชัดเจนเพียงพอ ถึงแม้เราอาจสงสัยถึงความหมายที่แท้จริงของคำว่าถนนสายอื่นๆ และถนนนั้นตัดเป็นมุมฉากกับอะไร แต่คำบรรยายของเขาไม่สามารถถูกยอมรับได้จากมุมมอง ไม่ว่าอะไรก็ตามที่เขามองเห็นและไม่ว่าความถูกต้องแม่นยำของการสังเกตและความจำของเขาจะเป็นอย่างไร เรื่องราวที่เขาบรรยายมานั้นไม่อาจเป็นเรื่องจริงทั้งหมด นครบาบิโลนของเขาครอบคลุมพื้นที่เกือบ 200 ตารางไมล์ กำแพงเมืองมีความยาวมากกว่า 50 ไมล์ หนา 30 หลา มีความสูงถึง 120 หลา แต่ละประตูเมืองวางห่างกัน 1.5 ไมล์ พื้นที่ของมหานครลอนดอนในปัจจุบันมีขนาดไม่เกิน 130 ตารางไมล์ และความสูงของมหาวิหารเซนต์พอลก็น้อยกว่า 130 หลา เมือนนานกิงซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศจีน และกำแพงเมืองก็เป็นผลงานของจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ แต่ความยาวทั้งหมดของกำแพงเมืองโดยรอบก็วัดได้น้อยกว่า 24 ไมล์ และมีความหนาของกำแพงมากกว่า 30 ฟุตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น มีความสูง 70 ฟุต [5] ยิ่งไปกว่านั้นคำบรรยายของเอโลโดตุส เกี่ยวกับกำแพงเมืองควรต้องนำไปเทียบเคียงกับถ้อยแถลงที่เขาแสดงไว้ในที่อื่นๆที่ว่า กำแพงเหล่านี้ถูกรื้อถอนทำลายโดยจักรพรรดิดาริอัส ในระหว่างช่วงเวลาประมาณ 60-70 ปี ก่อนหน้าที่เขาจะไปเยือน [6] การสร้างกำแพงขึ้นมาใหม่นั้นเป็นเรื่องยากลำบากที่จะทำให้เสร็จสมบูรณ์ แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม เอโลโดตุสคงสามารถเห็นได้เพียงชิ้นส่วนที่กระจัดกระจาย ซึ่งง่ายต่อการแปลความหมายอย่างผิดๆ ง่ายต่อการที่คนนำเที่ยวจะอธิบายว่าเป็นโบราณวัตถุบางอย่างที่ผิดเพี้ยนไปจากข้อเท็จจริง

          ตอนนี้เราหันกลับไปดูเศษซากส่วนที่เหลืออยู่จริงๆของนครบาบิโลนจากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและขุดค้น เราพบย่านของเมืองขนาดใหญ่กระจายออกไปทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำยูเฟรทีส ซื่งถูกปกคลุมในลักษณะที่ไม่ปรกติธรรมดาด้วยกองเนินของซากปรักหักพังของอาคารจำนวนมาก ในจำนวนนี้มี 2 พื้นที่ที่ดูโดดเด่นเป็นพิเศษ ส่วนพื้นที่ปลายสุดทางทิศใต้ ได้แก่ เมืองเบอส์นิมรัด (Birs Nimrud) และเนินดินที่อยู่ช้างเคียง ซึ่งเหล่านี้ก็คือเมืองโบราณบอร์ซิปปา (Borsippa) ณ ที่แห่งนี้เป็นสถานที่ตั้งของมหาวิหารขนาดมหึมาของเทพเจ้าเนโบ (God Nebo) อีกด้านหนึ่ง ส่วนพื้นที่ใกล้ๆกับปลายสุดทางด้านทิศเหนือ ประมาณ 10-11 ไมล์ห่างออกไปทางทิศเหนือของเมืองโบราณบอร์ซิปปา คือเมืองรูปทรงกลมบาบิลและคาสร์ (Babil and Kasr) เป็นซากปรักหักพังของโบราณสถานขนาดใหญ่ที่รกร้าง มีความยาว ถึง 3 ไมล์ และความกว้างในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ณ ที่นี้มีการขุดค้นพบกำแพงเมือง พระราชวังของกษัตริย์แห่งบาบิโลน วิหารเทพเจ้าของชาวบาบิโลเนียน ถนนและบ้านพักอาศัยของคนทั่วไป และยังมีส่วนที่ยังค้นไม่พบ ที่อื่นๆในแถบย่านนี้มีลักษณะของสถานที่อยู่อาศัยที่สามารถสืบหาร่องรอย ที่ยังคงไม่ได้ทำการสำรวจอยู่อีก

 

ภาพที่ 3 นครบาบิโลนทอดตัวอยู่ 2 ฝั่งแม่น้ำยูเฟรทีส

ที่มา: james_gordon_losangeles.  2553.  “Babylon and surrounding landscape, (present day Al Hillah), Babylon Province, Iraq”.  [ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มา http://www.flickr.com/photos/james_gordon_losangeles/7436645826/ (1 ธันวาคม พ.ศ. 2555).

ภาพที่ 4 ซากโบราณสถานภายในนครบาบิโลน

ที่มา: james_gordon_losangeles.  2553.  “Babylon 4”.  [ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มา http://www.flickr.com/photos/james_gordon_losangeles/7436670794/in/photostream/ (1 ธันวาคม พ.ศ. 2555).

 

          เป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีนักวิชาการบางท่านคิดว่าภูมิภาคทั้งหมดนี้คือเมืองโบราณบาบิโลน และกำแพงขนาดมหึมาที่เอโรโดตุส บรรยายไว้นั้น โอบล้อมพื้นที่ทั้งหมดนี้ไว้ [7] ซึ่งมุมมองนี้ไม่อาจยอมรับได้ ข้อที่แตกต่างจากลักษณะที่บรรยายมาข้างต้นคือ ลักษณะของย่านนี้ไม่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส หากแต่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า และไม่พบร่องรอยของกำแพงเมืองและคูเมืองที่ล้อมรอบพื้นที่ทั้งหมด แม้ว่าจะพบซากกำแพงเมืองที่หลงเหลืออยู่ที่อื่นในบริเวณชุมขนแห่งนี้ และอย่างไรก็ดี ไม่มีสิ่งใดที่จะสามารถลบร่องรอยของคูเมืองโบราณออกได้ กล่าวโดยสรุปก็คือ เราไม่มีเหตุผลที่ดีใดๆที่จะเชื่อได้ว่า นครบาบิโลนเคยครอบคลุมพื้นที่อันกว้างใหญ่แห่งนี้ในช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด ไม่ว่าจะเป็นด้านรูปทรงสัณฐานของเมือง หรือในด้านการรับรู้ใดๆ

          ในทางกลับกัน ดูราวกับว่าซากโบราณสถานที่โดดเด่นเป็นพิเศษของเมืองบาบิลและคาสร์ (Babil and Kasr) และเนินดินที่อยู่ข้างเคียงจะคงอนุรักษ์ทั้งชื่อและซากโบราณสถานที่แท้จริงของนครบาบิโลนเอาไว้ (ดูภาพที่ 5) ณ ที่นี่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำยูเฟรทีส มีกำแพงเมืองขนาดใหญ่มหึมา ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีความยาวประมาณ 5-6 ไมล์ [8] กำแพงเหล่านี้อาจถูกบรรยายคร่าวๆได้ใกล้เคียงกับที่เอโรโดตุสได้เขียนบรรยายเอาไว้ว่า เป็นกำแพงที่ล้อมรอบพื้นที่ครึ่งหนึ่งของเมืองรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ถูกแบ่งครึ่งตามแนวเส้นทะแยงมุมโดยแม่น้ำ มีเหตุผลที่ดีที่จะคิดได้ว่ามีสิ่งที่คล้ายคลึงกันที่มีขนาดเล็กกว่าบนฝั่งด้านขวาของแม่น้ำด้วย ซึ่งยังคงไม่ได้รับการขุดสำรวจอย่างเต็มที่ ภายในกำแพงเหล่านี้มีพระราชวังของกษัตริย์ของชาวบาบิโลเนียน พระเจ้านาโบโปลาสซาร์ และเนบุชชัดเนสซาร์ (Nabopolassar and Nebuchadnezzar,625-561 B.C.)  วิหารเทพเจ้าประจำเมือง มาร์ดุค หรือเมโลดาช (Marduk or Merodach) และเทพเจ้าองค์อื่นๆของชาวบาบิโลเนีย ถนนไอเบอสชาบู (Aiburschabu) สายกว้างใหญ่และทอดยาวเป็นแนวเส้นตรงตามแนวทิศเหนือใต้ จากพระราชวังไปสู่วิหาร และขยายขนาดออกที่ประตูเมืองอิสตาร์ (Istar Gate) พบบ้านพักอาศัยส่วนบุคคลจำนวนมากที่ย่านเมอร์เคส (Merkes quarter) และส่วนพื้นที่กำแพงเมืองชั้นใน ซึ่งบางทีน่าจะอยู่ในยุคต้นๆ ถนนและประตูเมืองถูกสร้างขึ้น หรือบูรณะขึ้นมาใหม่โดยกษัตริย์เนบุชชัดเนสซาร์ ตามข้อความบนจารึกหลายๆแห่ง เขาได้ “ปูพื้นสะพานด้วยแผ่นหินปูน เพื่อเป็นทางดำเนินเสด็จของขบวนแห่เทพเจ้ามาร์ดุคผู้ยิ่งใหญ่” เขาได้สร้างประตูเมืองอิสตาร์ด้วย “อิฐเคลือบเงาประดับด้วยสัญลักษณ์รูปวัวและมังกรที่ดุร้ายขนาดใหญ่ซึ่งทำจากทองสัมฤทธิ์ ระหว่างทางมีการสร้างรูปปั้นของเทพมาร์ดุคอีกด้วย ซึ่งจะถูกแห่แหนในพิธีเดือนเมษายน ซึ่งถือว่าเป็นวันปีใหม่ของชาวบาบิโลเนีย เมื่อกษัตริย์ทรงทำพระราชพิธีบวงสรวงบูชาเทพเจ้าของอาณาจักร [9]

 

ภาพที่ 5 ผังเมืองบาบิโลนโบราณ

ที่มา: F. Haverfield, 1913.

 


ภาพที่ 6 ภาพถ่ายทัศนียภาพจำลองของนครบาบิโลนในอดีต

ที่มา: abanex.  2547.  “Babylon 059”.  [ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มา http://www.flickr.com/photos/labanex/1396365103/ (1 ธันวาคม พ.ศ. 2555).

 

ภาพที่ 7 กำแพงเมืองที่ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่

ที่มา: james_gordon_losangeles.  2553.  “Babylon, (present day Al Hillah), Babylon Province, Iraq”.  [ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มา http://www.flickr.com/photos/james_gordon_losangeles/7436642694/ (1 ธันวาคม พ.ศ. 2555).


ภาพที่ 8 ภาพถ่ายโบราณแสดงการขุดค้นที่บริเวณประตูเมืองอิชตาร์ (Ishtar gate)  ในปี ค.ศ. 1925

ที่มา: janwillemsen.  2555.  “babylon Ishtar gate 1925”.  [ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มา http://www.flickr.com/photos/8725928@N02/6828310196/in/photostream/ (1 ธันวาคม พ.ศ. 2555).

 

ภาพที่ 9 ประตูเมืองอิชตาร์ (Ishtar gate)  ซึ่งได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ในปัจจุบัน

ที่มา: james_gordon_losangeles.  2555.  “Ishtar Gate reconstruction, Babylon, (present day Al Hillah), Babylon Province, Iraq”.  [ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มา http://www.flickr.com/photos/james_gordon_losangeles/7436747456/in/photostream/ (1 ธันวาคม พ.ศ. 2555).

          จนถึงตอนนี้ซากโบราณสถานที่คงเหลืออยู่ของนครบาบิโลนที่เป็นซึ่งรู้จักกันในปัจจุบัน ไม่ตรงกับถ้อยคำบรรยายของเอโรโดตุส  เราสามารถตรวจสอบได้จากรูปลักษณ์ภายนอกที่ได้ได้เป็นรูปร่างสี่เหลี่ยมจัตุรัสอย่างแท้จริง หากแต่เป็นรูปครึ่งส่วนของสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 รูปทรงที่มีขนาดไม่เท่ากัน ถูกแบ่งแยกด้วยแม่น้ำ เราสามารถสืบค้นพบร่องรอยของถนนขนาดใหญ่อย่างน้อย 1 เส้นที่ทอดขนานไปกับแม่น้ำ และอีกเส้นหนึ่งที่วิ่งทำมุมตั้งฉากกับเส้นแรก มุ่งตรงไปสู่แม่น้ำ ถ้าหากว่ากำแพงอิฐป้องกันเมืองริมฝั่งแม่น้ำได้อันตรธานหายไป นั่นอาจเนื่องมาจากกำแพงช่วงนั้นมีความแข็งแรงน้อยกว่า และจากการเปลี่ยนแปลงเส้นทางของแม่น้ำเองหลายต่อหลายครั้ง สำหรับนักศึกษาเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศของอาณาจักรบาบิโลเนีย คำบรรยายของเอโลโดตุสมีคุณค่าเพียงน้อยนิด แต่สิ่งที่เขาบันทึกเอาไว้นั้นดีเทียบเท่ากับที่นักเดินทางในสมัยใหม่จะสามารถรวบรวมได้ ถ้าพลัดเข้าไปในพื้นที่ขนาดกว้างใหญ่ที่เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง โดยปราศจากแผนผัง เครื่องมือ และแม้แต่ความคิดที่จะต้องบรรยายอย่างมีระบบและมีหลักการตามที่ถูกคาดหวัง

          นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ของการศึกษาของเรา ซากโบราณสถานยังแสดงถึงแนวความคิดเกี่ยวกับถนนสายหลักสำหรับขบวนพิธีสักการะบูชาเทพเจ้า ซึ่งปรากฏอีกครั้งในช่วงศตวรรตที่ 5 ที่ประเทศกรีซ และแท้ที่จริงแล้วแนวคิดนี้ยังเป็นที่ชื่นชอบของบรรดาสถาปนิกในยุคสมัยใหม่ส่วนใหญ่ ที่นี่เองที่เป็นเมล็ดพันธุ์ของการวางผังเมือง แต่การวางผังถนนจะยืดยาวออกไปไกลกว่าถนนเส้นหลักหรือไม่นั้นยังไม่เป็นที่ชัดเจน การขุดค้นพื้นที่ย่านเมอร์เคสแสดงให้เห็นแนวถนนที่ตัดกันเป็นมุมฉาก และพบรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าหยาบๆขนาด 150 x 333 ฟุต ตั้งอยู่โดดเดี่ยวอย่างน้อย 1 แห่ง แต่ช่วงบล็อกของอาคารบ้านเรือนที่อยู่ติดกันกลับมีขนาดและรูปทรงที่ไม่สอดคล้องกัน และไม่มีปรากฏเค้าโครงที่ชัดเจนของการวางผังในรูปแบบตารางหมากรุกที่แท้จริง [10]

          หลักฐานนอกเหนือไปกว่านี้สามารถพบได้จากพื้นที่อื่นๆของแหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมีย เมืองโบราณอัสเชอร์ (Asshur) มีถนนหลักสายกว้างและยาวเหมือนเส้นทางประกอบพิธีกรรมของนครบาบิลอน แต่บล็อกของอาคารบ้านเรือนที่ยังไม่ถูกสำรวจขุดค้น สร้างแผนผัง และตีพิมพ์เผยแพร่นั้น ไม่ปรากฏร่องรอยสัญลักษณ์ของการวางผังเมืองรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า [11] ยังมีหลักฐานทางวรรณกรรมซึ่งแสดงว่า กษัตริย์ แซนเฮอริบ (Sanherib, 765-681 B.C.) ได้ก่อสร้างถนนราชดำเนิน (Kingsway) ซึ่งมีความกว้าง 100 ฟุต เพื่อช่วยส่งเสริมให้การสัญจรในเมืองนายอีฟฮ์ (Nineveh) ของเขามีสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น  และเดลิทซช์ (Delitzsch) ยังเชื่อว่าราชวงศ์ซาโกนิด (Sargonid dynasty, 722-625 B.C.) ได้ให้การเอาใจใส่ดูแลอาคารบ้านเรือนของประชนทั่วไปเป็นอย่างดี เช่นเดียวกับการดูแลเทวสถานและพระราชวังของกษัตริย์

    โดยสรุปแล้ว เนินดินที่เมืองเมืองบาบิลและคาสร์ (Babil and Kasr) และเนินที่อยู่ติดกันดูเหมือนว่าจะเป็นนครบาบิโลน  ทั้งจากข้อเท็จจริงที่ค้นพบและจากคำบรรยายของเอโลโดตุส มันเป็นเมืองที่มีขนาดเล็กกว่าที่นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกยืนยันเอาไว้อย่างมั่นใจ ความกว้างและยาวของเมืองมีขนาดเกือบๆ 4 ไมล์ ไม่ใช่ 14 ไมล์ แต่มันมีถนนขนาดกว้างใหญ่และทอดยาวอย่างน้อย 1 เส้น ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการเฉลิมฉลองและขบวนแห่ นอกเหนือไปจากเพื่อการทำธุรกิจการค้าและเพื่อความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตของชาวเมือง อย่างน้อยในความรู้สึกแล้วเมืองถูกวางผังโดยใช้แนวถนนเส้นตรง และนี่ไม่ใช่เมืองเดียวในแคว้นเมโสโบเตเมียที่มีรูปแบบการวางผังเช่นนี้ ทั้งเมืองอัสเชอร์และนายอีฟฮ์ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ในยุคสมัยที่เก่าแก่กว่านครบาบิโลนต่างก็มีองค์ประกอบของเมืองที่คล้ายคลึงกัน ดูเหมือนว่าเมืองเหล่านี้ หรืออย่างน้อยก็นครบาบิโลน ต่างก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในหมู่นักเดินทางชาวกรีก และบางทีพวกเขาได้เสนอแนะแนวคิดเหล่านี้ในการปรับปรุงถนนหนทางของบ้านเรือนพวกเขาเองในยุคกรีกโบราณ เมล็ดพันธุ์ของการวางผังเมืองกรีกนั้นมาจากดินแดนตะวันออก

Footnotes:

 [1] W.F. Petrie, Illahun, Kahun, and Gurob (London, 1891), ch. ii, plate xiv. The plan is reproduced in Breasted's History of Egypt, p. 87, R. Unwin's Town planning, fig. 11 (with wrong scale), &c.

[2] Hdt. i. 178 foil. The accounts of Ctesias and other ancient writers seem to throw no light on the town-planning and streets of Babylon, however useful they may otherwise be.

[3] The Elizabethan description of Britain by William Harrison is an example from a modern time.

[4] Hdt. i. 180 το δε αυτυ αυτο, εον πληρες οικιεων τριωοφων τε και τετρωροφων, κατατετμηται τας οδους ιθευς, τας τε αλλας και τας επικαρσιας, τας επι τον ποταμον εχουσας. Apparently επικαρσιας means, as Stein says, those at right angles to the general course of the river, but this nearly = at right angles to the other roads. The course of the river appears to have been straighter then than it is now.

[5] L. Gaillard, Variétés sinologiques, xvi (plan) and xxiii. pp. 8, 235 (Chang-hai, 1898, 1903). Others give the figures a little differently, but not so as to affect the argument.

[6] Hdt. iii. 159. The theory that there were originally two parallel outer walls, that Darius razed one and Herodotus saw the other (Baumstark in Pauly-Wissowa, Real-Encycl. ii. 2696), is meaningless. There could be no use in razing one and leaving the other, which was almost as strong (Hdt. i. 181). It is, however, not quite certain that Herodotus (i. 181) meant that there were two outer parallel walls.

[7] So Baumstark, art. Babylon in Pauly-Wissowa, ii. 2696.

[8] F.H. Weissbach, Stadtbild von Babylon (Der alte Orient, fasc. 5); R. Koldewey, Tempel von Babylon und Borsippa, plates i, ii; S. Langdon, Expositor, 1909, pp. 82, 142; Hommel, Geogr. des alten Orients, pp. 290, 331; E. Meyer, Sitzungsber. preuss. Akad. 1912, p. 1102. I am indebted to Dr. Langdon for references to some of the treatises cited here and below. I cannot share the unfavourable view which is taken by Messrs. How and Wells, the latest good editors of Herodotus, of the views of these writers.

[9] Koldewey, Pflastersteine von Aiburschabu (Leipzig, 1901). Some of the streets of Babylon are much older than 600 B.C., but this point needs to be worked out further.

[10] Mitteilungen der deutschen Orient-Gesellschaft 42, Dec. 1909, pp. 7, 19; 44, Dec. 1910, p. 26.

[11 Mitt, deutsch. Orient-Gesell. 28, Sept. 1905; 31, May 1906.

[12] F. Delitzsch, Asurbanipal und die assyr. Kultur seiner Zeit (Der alte Orient, Leipzig, 1909), p. 25.

บรรณานุกรม 

Haverfield, F., 1913. Ancient Town-Planning. Lindon: Oxford at The Clarendon Press.

 

 

 

คำสำคัญ : ancient Babylon city บาบิโลน เมืองโบราณ
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 45396  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
วันที่เขียน 2/12/2555 12:59:19  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 12:27:05
ตอนที่ 4 : รายการความคิดเห็นทั้งหมดที่มีต่อบทความนี้
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร : Management Information System [MIS]
รับผิดชอบระบบ โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารนสนเทศ มหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290